วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทยกับการสร้างมาตรการทางการค้าและการสร้างสันติสุขในประเทศพม่า



จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทยกับการสร้างมาตรการทางการค้าและการสร้างสันติสุขในประเทศพม่า

15 ตุลาคม 2550

เรียน พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

ตัวแทนภาคประชาชนไทยผู้มีรายนามท้ายนี้มีความปรารถนาให้ประเทศพม่ามีพัฒนาการทางการเมืองไปในทางที่ดีและสันติ ต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยสามารถเอา ชนะความยาก ลำบากและการทนทุกข์ทรมานจากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในหลายๆด้านในประเทศพม่า และสนับสนุนกระบวนการที่จะนำมาสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

หลังจากที่ ท่านทูต อิบราฮิม กัมบารี ได้เข้าไปเยือนประเทศพม่าและมีรายงานเสนอเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2550 ให้รัฐบาลพม่าและ SPDC ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมที่ร่วมการเดินขบวนประท้วงทั้งหมด ยุติการค้นบ้านค้นวัดและจับกุมประชาชนพม่าในยามวิกาลภายใต้ประกาศเคอร์ฟิว และยกเลิกคำประกาศเคอร์ฟิวโดยเร็ว โดยควรถอนกำลังทหารที่ประจำการตามท้องถนนออกไป และยอมให้กาชาดสากลเข้าพบผู้ถูกจับกุม และช่วยค้นหาผู้สูญหายจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา อีกทั้งอนุญาตให้ผู้ประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ยังสถานพยาบาลต่างๆ

แต่องค์กรต่างๆในประเทศไทยได้รับแจ้งจากประชาสังคมในประเทศพม่าว่า ทหารพม่าและรัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอข้างต้นของท่านทูตกัมบารี ทหารยังปราบปรามประชาชนและพระสงฆ์ที่เข้าร่วมการประท้วงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้มีมาตรการลดความตึงเครียกแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ถูกคุมขัง คนที่สูญหายและครอบครัวของพวกเขา

คนไทยรู้สึกห่วงใยต่อสถานการณ์พม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่ทราบว่ารัฐบาลพม่าจะเพิ่มมาตรการปราบปรามมากขึ้นหรือไม่ เพราะทั่วโลกทราบดีว่าทั้งรัฐบาลจีน อืนเดีย และไทย
ยังไม่มีมาตรการยุติการทำตัวเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับทหารพม่าและยังยืนยันการค้าขายกับพม่าต่อไปแต่ไม่ได้คำนึงว่าเงินที่ทำการค้านั้นได้ถูกใช้ไปกับซื้ออาวุธปราบปรามประชาชนและคนกลุ่มน้อยมาเป็นเวลานาน

ประชาสังคมไทยจึงขอเสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาดำเนินการเพื่อจะมุ่งหาหนทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพม่าอย่างจริงจังดังนี้

1. ไทยต้องมีแนวทางยุติการลงทุน และระงับโครงการขนาดใหญ่ที่จะเข้าไปลงทุนในพม่า โดยจะต้องมีมาตราการและนโยบายในเชิงรูปธรรมต่อการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อจะมิให้เกิดการนำรายได้ดังกล่าวเข้าไปใช้เข่นฆ่าทำร้ายพระสงฆ์และประชาชนพม่า
2. ไทยจะต้องให้ความช่วยเหลือคุ้มครองผู้ลี้ภัยจากการปราบปรามพระสงฆ์และประชาชนจากพม่า รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่เป็นผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการใช้ความรุนแรงทั้งทางกายภาพและนโยบายของรัฐบาลทหารพม่า โดยต้องมองถึงความจำเป็นที่พวกเขาเหล่านั้นต้องหลบหนีจากประเทศของตนซึ่งมีอันตรายเข้ามา รัฐไทยมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครอง มิใช่มองพวกเขาเป็นปัญหาดังที่ผ่านมา
3. ไทยจะต้องร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างจริงจังในการกดดันให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการปราบปราม จับกุมและทำร้ายพระสงฆ์และประชาชนโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
4. ไทยจะต้องร่วมมือ และแสดงบทบาทต่ออาเซียนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่าทั้งระยะสั้น คือการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น และให้มีการปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งระยะยาวที่จะต้องมีการเอื้อให้เกิดกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และมุ่งสร้างแนวทางการพัฒนาทางการเมืองที่เน้นประโยชน์อยู่ที่ประชาชนพม่า

ประชาสังคมไทยขอยืนยันว่าข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้วางอยู่บนพื้นฐานของความต้องการเห็นภูมิภาคนี้สงบสันติ ต้องการเห็นประชาชนในภูมิภาคนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และท้ายที่สุดวางอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการให้การพัฒนาของประเทศไทยและพม่าในอนาคตข้างหน้าตั้งอยู่บนความมั่นคงยั่งยืนและมีจริยธรรม


ด้วยความนับถือ

11 องค์กรสิทธิมนุษยชนไทย
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี(อันเฟรล)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.)
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มสันติภาพเพื่อพม่า
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี
องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

จดหมายเปิดผนึก ถึง นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติ

จดหมายเปิดผนึก
ถึง นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติ

15 ตุลาคม 2550
เรื่อง ข้อเสนอแนะต่อการเยือนประเทศพม่า

เรียน ท่านทูต อิบราฮิม กัมบารี
ตัวแทนองค์กรภาคประชาชนของประเทศไทยขอต้อนรับการมาเยือนประเทศไทยและขอแสดงความยินดีที่ท่านเดินทางไปประเทศพม่าอีกครั้งหนึ่ง ตัวแทนภาคประชาชนไทยที่ปรารถนาให้ประเทศพม่ามีพัฒนาการทางการเมืองไปในทางที่ดีและสันติ ต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถเอาชนะความยากลำบากและการทนทุกข์ทรมานจากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในหลายๆด้านในประเทศพม่า และสนับสนุนกระบวนการที่จะนำมาสู่ประชาธิปไตยอย่างจริงจัง เราถือโอกาสนี้แสดงความเห็นต่อสถานการณ์พม่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวกับความคิดเห็นที่ท่านได้เสนอในนามของเลขาธิการสหประชาชาติที่มีต่อ
รัฐบาลพม่าและ SPDC เมื่อครั้งที่ท่านได้เข้าไปเยือนประเทศพม่าที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่มาของรายงานที่ท่านได้นำเสนอเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2550 ปัญหาและความตึงเครียดที่ท่านต้องการการแก้ปัญหาทันทีได้รวมถึง

การให้หยุดค้นบ้านและจับกุมประชาชนพม่าในยามวิกาลภายใต้ประกาศเคอฟิว
ให้มีการยกเลิกคำประกาศการออกนอกบ้านในตอนกลางคืนหรือเคอฟิวให้เร็วที่สุด
ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมที่ร่วมการเดินขบวนประท้วงทั้งหมดโดบปราศจากเงื่อนไข
อนุญาตให้ผู้ประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ยังสถานพยาบาลต่างๆ
ถอนกำลังทหารที่ประจำการตามท้องถนนออกไป
ให้ความมั่นใจว่าทหารพม่าจะเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักกฏหมายตามมาตรฐานสากล
ยอมให้กาชาดสากลเข้าพบผู้ถูกจับกุม และช่วยค้นหาผู้สูญหายจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา
และต้องยุติการค้นวัด กุฏิพระสงฆ์ต่างๆในทันที

แต่ปรากฏว่าองค์กรต่างๆในประเทศไทยได้รับแจ้งจากประชาสังคมในประเทศพม่าว่า ทหารพม่าและรัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอข้างต้นของท่านเลย ทหารยังปราบปรามประชาชนและพระสงฆ์ที่เข้าร่วมการประท้วงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้มีมาตรการลดความตึงเครียกแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ถูกคุมขัง คนที่สูญหายและครอบครัวของพวกเขา

คนไทยรู้สึกห่วงใยกับสถานการณ์พม่าเป็นอย่างยิ่ง เราอยากให้เพิ่มความพยายามในทุกด้านมากกว่านี้ เพื่อให้รัฐบาลทหารพม่าหยุดการค้นสถานที่ต่างๆ ยุติการจับกุม การทรมาน และการปราบปรามรูปแบบต่างๆโดยทันที่ เราทราบดีว่าท่านรับรู้ความรู้สึกของผู้ประสบชะตากรรมที่เป็นผลพวงของการกระทำของรัฐบาลเผด็จการทหารเป็นอย่างดี และขอให้การเดินทางไปพม่าในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

ด้วยความนับถือ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.), เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี(อันเฟรล)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.), ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มสันติภาพเพื่อพม่า, คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

Open letter to Ibrahim Gambari

Ambassador Ibrahim Gambari
Special Adviser to the Secretary General

15 October 2007
Dear Ambassador Gambari

Re: Your forthcoming visit to Burma

We extend our best regards to you and welcome the visit you are about to make to Burma. We are a group of Thai and Burmese civil society organizations working to relieve the situation of those suffering under the current conditions inside Burma and to promote democratic processes.

We take this opportunity to comment on the current situation in Burma, particularly in relation to the recommendations you made on behalf of the United Nations Secretary General to the SPDC in your last visit, and that you outlined in your report to the UN Security Council on 5 September. Specifically we refer to the recommendations regarding the need to immediately de-escalate tensions, including:
putting an end to night raids and arrests during curfew
lifting the curfew as soon as possible
releasing all those arrested during the demonstrations and before the crackdown immediately without condition
allowing access to clinics/ medical treatment for those wounded during demonstrations;
withdrawing military forces from the street
ensuring respect for human rights and the rule of law in the exercise of law enforcement, in accordance with international standards
allowing the ICRC to access persons detained and assist in tracing missing people
and putting an immediate end to raids on monasteries.

We have maintained contact with sources inside Burma who inform us that the SPDC has not complied with these recommendations. The military continues its repression of those involved in the recent protests, and has not taken steps to reduce the tensions and allow relief efforts to take place to assist the injured, detained and missing and their families.

We are deeply concerned about the situation and, therefore, asking you to make all possible efforts to impress upon SPDC the urgency of stopping the raids, arrests, torture, execution and other forms of repression immediately. We know that you are keenly aware of the suffering being experienced as a result of the brutal actions of the military regime.

We wish you every success on your mission.

Yours sincerely
Campaign Committee for Human Rights (CCHR)
Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB)
Young People for Democracy Movement, Thailand (YPD)
Peace for Burma Group, Working Group for Justice and Peace (WGJP)
Asian Institute for Human Rights (AIHR), Asia Network for Free Election (ANFREL)
Amnesty International Thailand, Human Rights and Development Foundation
Thai Coalition for the Protection of Human Rights Defenders (HRDTH)

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Statement by SWAN urging EU to impose stronger sanctions against the Burmese military regime



Statement by SWAN urging EU to impose stronger sanctions against the Burmese military regime

October 12, 2007

The Shan Women’s Action Network has consistently called for economic sanctions against the Burmese military regime, and at this crucial time urges the European Union to impose strong new economic sanctions on the regime.

The Shan State is the largest state of Burma, and one of the richest in natural resources. Since the opening up of the economy to foreign investment in 1988, foreign companies have rushed in to invest in our forests, minerals and rivers. Yet the vast majority of our people have seen no benefits from this investment whatsoever. On the contrary, we have seen a massive increase of Burma Army troops to protect these investments, which include vast logging concessions, gem mines, and mega-dams, including on the Salween River. This has led to increased forced relocation, land confiscation, forced labour, extrajudicial killing, torture and systematic rape. Our environment has been ravaged, and food security has plummeted, as have standards of health and education, resulting in an influx of hundreds of thousands of refugees into Thailand.

The international community has recently witnessed the regime’s brutal crackdown on the peaceful demonstrations led by Buddhist monks in Rangoon. In fact, such brutality has been commonplace over the past decades in Shan State, in areas inaccessible to the international media. Countless civilians, including Buddhist monks, have suffered extrajudicial killing and torture at the hands of the regime’s troops. Since the publication of our report “Licence to Rape” in 2002, detailing the rape of 625 women and girls in Shan State, SWAN has been exposing the ongoing use of rape as a weapon of war by the regime. With the continual build-up of Burma Army battalions in Shan State, civilians face the constant threat of violence, and women and girls live in perpetual fear of sexual assault.

It is very clear that foreign investment in Burma at this time means complicity in the military regime’s oppression of our people and exploitation of our resources. We therefore urge the EU to impose strong new economic sanctions on Burma’s military regime. In particular, we call for an international arms embargo.

Contact person: Nang Charm Tong +66 81 603 6655

China : political developments since the 2006 briefer-



China : political developments since the 2006 briefer-


Faced with the international community’s condemnation of the violent crackdown, even China could not defend the SPDC.
On 26 September, China’s Ambassador to the UN, Wang Guangya, said that China wished to see stability, mutual reconciliation, and progress towards democracy in Burma.[AP (27 Sep 07) UNSC Concerned About Myanmar Crackdown] Premier Wen Jiabao confirmed China’s shift, and expressed hopes that stability, national reconciliation, and democracy will be achieved as soon as possible through peaceful means.[Bloomberg (30 Sep 07) China Backs End to Myanmar Violence; UN Envoy Arrives]On 12 January, China and Russia vetoed a joint US/UK resolution on Burma before the UNSC.[Bangkok Post (13 Jan 07) China, Russia veto UN Burma resolution] Because of the vetoes, the resolution failed even though the final vote was 9 to 3 in favor of adoption.China’s UN Ambassador Wang Guangya acknowledged that there were problems in Burma but did not feel the problems constituted a threat to international peace and security.[New York Times (13 Jan 07) U.S. Rebuke to Myanmar Is Defeated by U.N. Vetoes] Wang urged the SPDC to move toward “inclusive democracy” and “speed up the process of dialogue and reform”.[Houston Chronicle (13 Jan 07) China, Russia veto Myanmar resolution] business dealings-5 April: the SPDC signed a memorandum of understanding with China’s Farsighted Investment Group Co Ltd and Gold Water Resources Co Ltd to build a 2,400 megawatt plant on the Salween River, Kunlong, Northern Shan State. IHT (13 Apr 07) Burma: Warning of Detrimental DamChina’s oil giant Sinopec announced that construction of the pipeline from Akyab, Arakan State, to Chongqing, Southwest China, is expected to begin soon, saying that the National Development and Reform Commission approved the pipeline at the beginning of April.[Xinhua (22 Apr 07) Construction of China-Myanmar oil pipeline expected to start this year] One analyst calculated that the total rent over 30 years to the SPDC from China for building oil and gas pipelines would amount to US$9 billion – or $300 million annually.The SPDC has chosen China as the destination for the massive “Shwe” gas reserves. Reports in the India and South Korean press on 20 and 21 March said that the SPDC had told an Indian delegation the pipeline deal was off. Instead, a 900 km pipeline would be laid to China from blocks A1 and A3.[1Times of India (21 Mar 07) Myanmar refuses to export gas to India]15 January - three days after China’s veto of the UNSC resolution on Burma -, the SPDC awarded oil and gas exploration rights to the China National Petroleum Corporation at blocks AD 1, AD 6 and AD 8 – an area covering 10,000 square km off the coast of Arakan State.[Xinhua (15 Jan 07) CNPC to Explore Oil, Gas in Three Myanmar Offshore Areas] The contract is a production sharing one between China’s top oil producer, and the SPDC-controlled Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE). On 23 November, China’s Assistant Minister of Commerce Chen Jian granted a debt exemption to the SPDC and established a framework agreement for a preferential loan. According to a Chinese official, the debt cancellation 240 million yuan (US$30 million) and the low interest loan was 300 million yuan (US$38 million).[AP (24 Nov 06) China grants Myanmar partial debt relief] Chen Jian was in the country from 20 November, discussing timber, mining and agricultural cooperation. China can afford to be generous. According to the latest Chinese official statistics, in the first half of 2006, total bilateral trade was up 10.8% from the same period in 2005. However, Chinese exports were up 30.5% to US$549 million, whereas their imports from Burma were down 35.9% to US$114 million.[Xinhua (23 Nov 06) China, Myanmar sign economic, trade cooperation agreements]


วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รายงานพิเศษจากเจนีวา: ก้าวต่อไปของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนกับสถานการณ์ในพม่า



รายงานพิเศษจากเจนีวา: ก้าวต่อไปของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนกับสถานการณ์ในพม่า

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) ได้มีการนัดประชุมวาระพิเศษ (Special Session) ในประเด็นสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าหลังจากได้มีการปราบปรามพระและผู้ชุมนุมที่ออกมาเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตย

การที่พม่าเข้าไปสู่ในวาระพิเศษนี้นับว่าเป็นความสำเร็จส่วนหนึ่งของขบวนการเรียกร้องเพื่อประชาธิปไตยในพม่า กระบวนการผลักดันนี้เกิดขึ้นโดยที่รัฐบาลโปรตุเกสและสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิฯ อีก 17 ประเทศได้เรียกร้องให้ประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนตั้งวาระพิเศษนี้ขึ้นมาพร้อมกับการเรียกร้องจากองค์กรสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เพื่อนำสถานการณ์ในประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชนตัวเอง จนทำให้มีผู้ลี้ภัยมากกว่าล้านคนทั่วโลก[i] และผู้ผลัดถิ่นในประเทศ (Internally Displaced Persons)[ii] หลายร้อยล้านคน จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดหนักให้เป็นวาระสากล และเป็นการเกิดขึ้นครั้งแรกที่นำประเด็นสิทธิมนุษยชนในเอเชียเข้าไปในวาระพิเศษเนื่องจากที่ผ่านมาคล้ายกับว่ากรณีสิทธิมนุษยชนในเอเชียถูกปลีกออกไป เนื่องจากในวาระที่ผ่านมาได้มีการพิจารณาเพียงแค่กรณีซูดาน เลบานอน และปาเลสไตน์

จากการประชุมหนึ่งวันเต็มนี้เราได้เห็นข้อแถลง (intervention) ของรัฐบาลหลายประเทศที่เป็นไปในแง่บวกในการตอบรับกับสถานการณ์การปราบปรามประชาชน ประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปได้มีจุดยืนที่ร่วมกัน เช่น ประนามความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร เรียกร้องให้มีการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย เรียกร้องให้รัฐบาลพม่ายอมรับให้ศาสตราจารย์พอลโล เซอร์จีโอ พินเฮโร (Paulo Sergio Pinheiro) ผู้ตรวจสอบพิเศษกรณีสิทธิมนุษยชนในประเทศพม่าสามารถเข้าไปตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ซึ่งศจ.พอลโลในฐานะเป็นผู้ตรวจสอบพิเศษที่กรรมาธิการสิทธิมนุษยชน (Commission of Human Rights) ได้แต่งตั้งขึ้นมาไม่สามารถเข้าไปพม่าได้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าปฎิเสธที่จะให้วีซ่า – ซึ่งนับว่าเป็นการแสดงตัวเป็นปฎิปักษ์กับกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

ข้อแถลงที่มีพลังมากที่สุดอันหนึ่ง คือ โดยผู้แทนถาวรประจำสหประชาชาติของประเทศสวีเดน ซึ่งได้อยู่ในร่างกุ้งในเวลาที่รัฐบาลทหารได้ใช้ความรุนแรงกับประชาชนได้ให้ข้อมูลชัดเจนกับคณะมนตรีฯ เกี่ยวกับการปราบและสลายการชุมนุมกับผู้ชุมนุมและพระสงฆ์อย่างทารุณ และรวมถึงเหตุการณ์ที่ประชาชนถูกไล่ยิงในตรอกกลางเมืองโดยเจ้าหน้าที่ทหาร

ฑูตของประเทศญี่ปุ่นได้กล่าวว่าการสังหารประชาชนเป็นเหตุการณ์ที่ทารุณและเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าหยุดการใช้กองกำลังที่กดขี่ประชาชน ในขณะที่ประเทศที่อยู่ห่างไกลเหตุการณ์อย่างมอริเชียส (Mauritius) แสดงจุดยืนว่า “ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยจะไม่ยอมที่จะเห็นรัฐบาลใด ๆ สังหารประชาชนที่เรียกร้องเพียงแค่เสรีภาพและความยุติธรรม”

แม้ว่าการแถลงจากประเทศต่าง ๆ มากกว่า 50 ประเทศประนามการสลายการชุมนุมของรัฐบาลเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นและแสดงให้เห็นว่าประชาคมโลกกำลังติดตามสถานการณ์ในพม่าอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามผลที่ได้ออกมาจากวาระพิเศษหรือมติ (resolution) ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ นี้ยังต่ำกว่าความคาดหวังของนักกิจกรรมพม่าและองค์กรสิทธิมนุษยชนมาก เนื่องจากมติของคณะมนตรีฯ ไม่ได้มีประเด็นที่เป็นรูปธรรมในการหยุดความรุนแรงโดยรัฐบาลพม่า

มตินี้เพียงพูดถึงประเด็นเพียงแค่การประนามการกระทำของเหล่านายพลทหาร ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่มีความเข้มแข็งเนื่องจากไม่ได้มีการพูดถึงกระบวนการที่จะนำไปสู่การนำคนเหล่านี้มาลงโทษเลย ซึ่งมติเช่นนี้คล้ายคลึงกับมติเก่า ๆ ที่เคยออกโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Commission on Human Rights) ซึ่งเป็นกลไกสิทธิมนุษยชนของโลกในอดีตก่อนมีการก่อตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ. 2006

แม้ว่าองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคและระดับสากลได้มีการเรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ประกอบไปด้วยผู้รายงานพิเศษจากหลากหลายประเด็น (Thematic-based Special Procedures) ในการเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์ และทีมอิสระติดตามสถานการณ์ที่จะถูกตั้งขึ้นภายในประเทศพม่าเพื่อค่อยติดตามสถานการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่มตินี้เพียงแต่พูดถึงการเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์โดยผู้รายงานพิเศษ

ในมุมมองของเรา แม้ว่ามติของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนนี้จะไม่ใช่สิ่งที่องค์กรสิทธิมนุษยชนหวังจะให้เป็น แต่ประเด็นที่เรียกให้ “ผู้ตรวจสอบพิเศษเข้าไปประเมินสถานการณ์ในประเทศพม่า” ก็ยังเป็นประเด็นที่สำคัญในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของประเทศพม่า ดังนั้นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนในเอเชีย และในอาเซียนซึ่งประกอบไปด้วยประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียต้องร่วมกันกดดันให้รัฐบาลทหารพม่ายอมรับให้ ศจ.พินเฮโรเข้าไปในพม่า อาเซียนไม่สามารถอ้างถึงนโยบาย “หลักการไม่แทรกแซง” (Non-interference policy) ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของอาเซียนกำลังเข่นฆ่าประชาชนที่ต่อสู้มือเปล่าเพื่อประชาธิปไตย

ล่าสุดนี้ได้มีรายงานออกมามากมายเกี่ยวกับความรุนแรงที่ยังคงเกิดขึ้นหลังจากการปราบผู้ชุมนุม เราได้เห็นรายงานอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับยอดผู้เสียชีวิตที่มีมากกว่า 1,000 คนซึ่งขัดกับรายงานของรัฐบาลทหารอย่างสิ้นเชิง[iii]

การเข้าไปในพม่าของ ศจ.พินเฮโรดังนั้นจะมีความสำคัญมากเพราะตอนนี้ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายการเข้าไปจับกุมประชาชนกลางดึกจากบ้านหลังหนึ่งสู่บ้านอีกหลังหนึ่ง โดยมีเป้าหมายคือประชาชนที่ได้ออกมาชุมนุมในปลายเดือนที่ผ่านมา การให้ปากคำของนายพันของรัฐบาลทหารพม่าที่กำลังลี้ภัยไปประเทศนอร์เวย์ที่กล่าวว่าประชาชนและพระสงฆ์ได้ถูกฆ่าจำนวนมากก็แสดงให้เห็นถึงความโหดร้ายของรัฐบาลพม่าให้ประชาคมโลกได้เห็นอีกครั้ง[iv] นอกจากนี้กลุ่มขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยของชาวพม่าผลัดถิ่นก็ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการหายตัวไปของพระสงฆ์จากท้องถนนหลังจากการปราบผู้ชุมนุมซึ่งกำลังสร้างข้อวิตกหลายอย่าง ดังนั้นการเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนโดยผู้รายงานพิเศษจึงเป็นส่วนสำคัญในการอุดช่องว่างเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศพม่า

ประชาชนพม่าได้เสียสละแต่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนอย่างมากเป็นระยะเวลาหลายสิบปี ประชาคมโลกโดยเฉพาะสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติไม่ควรทำให้พวกเขาผิดหวังหรือรอมากเกินไปกว่านี้

ภูมิหลัง

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) เป็นกลไกทางด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติที่ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2006 แทนที่คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Commission for Human Rights)

คณะมนตรีสิทธิฯ ประกอบด้วยสมาชิก 47 ประเทศที่ได้รับเลือกจากประเทศสมาชิก การปฎิรูปโครงสร้างจากคณะกรรมธิการเป็นคณะมนตรีฯ นี้ทำให้กลไกสิทธิมนุษยชนเป็นเอกภาพมากขึ้นเนื่องจากในอดีตประเด็นสิทธิมนุษยชนแม้ว่าเป็นหนึ่งในสามเป้าหมายของการก่อตั้งสหประชาชาติ คือ สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และการพัฒนา (Human Rights, Peace, and Development) ไม่ได้รับความสำคัญ เนื่องจากคณะกรรมาธิการฯ ต้องรายงานต่อคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Economic and Social Council) แต่หลังจากการปฎิรูปเป็นคณะมนตรีสิทธิฯ นี้ทำให้รายงานโดยตรงต่อสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ (UN General Assembly) ได้เลย นอกจากนี้ยังมีการสามารถเรียกประชุมวาระพิเศษ (Special Session) ได้ทันที เช่น เดียวกับที่มีการเรียกประชุมวาระประเทศพม่าเพื่อเป็นการตอบสนองกับสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศใดประเทศหนึ่งให้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังมีกระบวนการใหม่ซึ่งเรียกว่ากระบวนการตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Reviews) โดยที่ทุกประเทศต้องผ่านการตรวจสอบนี้

ส่วนผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติ (UN Special Rapporteur) เป็นกลไกที่ถูกก่อตั้งโดยคณะกรรมกาธิการสิทธิมนุษยชนฯ ในการตรวจสอบ ติดตาม ให้ข้อแนะนำ และเผยแพร่รายงานกรณีสิทธิมนุษยชน โดยปัจจุบันนี้มีผู้รายงานพิเศษจำนวน 38 ตำแหน่ง ประกอบไปด้วยผู้รายงานพิเศษติดตามสถานการณ์ในประเทศ (Country-specific Special Procedures) 10 ประเทศ และ ผู้รายงานพิเศษติดตามสถานการณ์ตามประเด็น (Thematic-specific Special Procedures) 28 ประเด็น ในเอเชียมีผู้รายงานพิเศษติดตามสถานการณ์ในประเทศอยู่ 3 ประเทศ คือ พม่า เกาหลีเหนือ และกัมพูชา โดยผู้รายงานพิเศษเหล่านี้สามารถรับข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากผู้ถูกละเมิด องค์กรสิทธิมนุษยชน ได้โดยตรงและจะมีหน้าที่ในการคำร้องเรียน (urgent appeal) ถึงรัฐบาลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการสามารถเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศนั้น ๆ ได้ แต่สำหรับกรณีพม่า รัฐบาลทหารพม่าปฎิเสธที่จะให้ศาสตราจารย์พอลโล เซอร์จีโอ พินเฮโร ผู้ตรวจสอบฯ กรณีสิทธิมนุษยชนในพม่าเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 เป็นต้นมา

ในประเทศไทย ผู้รายงานพิเศษกรณีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Special Representative on the UN Secretary-General on Human Rights Defenders) ได้เดินทางมาตรวจสอบสถานการณ์กรณีการละเมิดสิทธินักปกป้องสิทธิมนุษยชนในปี ค.ศ. 2003

อยากทราบข้อมูลเพิ่มเติ่มเรื่องคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และ ผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติดูที่ http://www.ohchr.org/

[i] Shoot on Sight: The Ongoing Military Junta Offensive Against Civilians in Eastern Burma. Burma Issue.
http://www.witness.org/index.php?option=com_rightsalert&Itemid=178&task=view&alert_id=53
[ii] From United States Committee for Refuggees and Immigrants (USCRI) information.
http://www.refugees.org/countryreports.aspx?id=208
[iii] From Burma Update – by Political Defiance Committee (PDC) and National Council of the Union of Burma (NCUB)
[iv] Changing Sides: Burmese Military Officer Seek Asylum in Norway. Spiegel Online.
http://www.spiegel.de/international/world/0,1518,509391,00.html.

Burma in the Human Rights Council: Moving Forward?





Burma in the Human Rights Council: Moving Forward?

Friday, 05 October 2007


This week the United Nations Human Rights Council, or HRC, held a special session, the fifth since its establishment in March 2007, to consider the human rights situation in Burma. The call for the convening of the session by Portugal and another 17 members of the Council was seen as a positive and timely move and an important step to bring the situation in Burma to the attention of the international community. It was a particular relief for Asian NGOs in that it provided reassurance that Asian issues have not been left out of the work of the HRC. The Council’s four previous special sessions focussed on Darfur, Lebanon and Palestine.The day-long session saw positive interventions from a number of governments. European Union states joined hands in condemning the violence committed by the junta, calling for an end to the crackdown and for the perpetrators of human rights violations to be brought to justice. They also demanded that the UN Special Rapporteur on the situation of human rights in Myanmar, Prof. Paulo Sergio Pinheiro, be granted access to the country. Prof. Pinheiro was last allowed to visit Burma in 2003. One of the more notable statements was delivered by a Swedish delegate who had been in Rangoon at the time of the violence and was able to provide first-hand information to the Council.It was also encouraging to hear statements from Latin America and Africa. The strong interventions of Mauritius, Zambia and Peru were particularly good illustrations of the truly global nature of the outrage at the recent attacks by the Burmese military. Burma’s neighbours in the Association of Southeast Asian States (ASEAN) also spoke up, acknowledging, implicitly at least, their unique responsibility in resolving the crisis in Burma. These developments, and the fact that the resolution presented at the session was adopted by consensus, were welcome and showed that real momentum had began.Sadly, however, the substance of the resolution fell far short of what was hoped for, and indeed expected, by Burmese activists and NGOs, very much echoing the resolutions of the former Commission on Human Rights, the predecessor body of the Human Rights Council. Its “action” element is disappointingly weak, doing little more than urging the Burmese government to grant access to the Special Rapporteur. A large coalition of mainly Asian human rights groups had been more ambitious in their statement to the Council, calling for both a high-level fact-finding mission and the establishment of a longer-term independent monitoring team in Burma.Still, it is now essential to ensure that the resolution is fully implemented and that the Special Rapporteur is able to carry out the urgent visit that has been requested. The international community, and in particular the members of ASEAN, need to exert real pressure the Burmese government to grant a visa to Prof. Pinheiro and fully cooperate with his visit. ASEAN can no longer stand by its non-interference policy while one of its own states kills people struggling barehanded for democracy.Reports of ongoing violations in Burma are continuing to emerge. While the junta officially put the figure of those killed at “up to a dozen,” the true figure is believed to be far higher, with unconfirmed reports suggesting that as many as 1,000 may have been killed.1 A similar figure was quoted by Major Hla Win, the Chief of Military Intelligence with the Burmese army in Rangoon's northern region, who fled Burma during the recent crackdown.2 There is also serious concern about reports of the army continuing to launch nighttime raids on private homes, arresting and detaining those thought to have been involved in the recent demonstrations. Many exile groups have drawn attention to the fact that monks have now disappeared from the streets in Burma, with their current whereabouts unknown. The visit of the Special Rapporteur is therefore very much needed, as a means to fill in the many gaps in information about the current situation on the ground.Continued diligence is required from the members of the Council, and from the international community in general, to ensure that the many sacrifices already made by the peoples of Burma have not been in vain.




1 From “Burma Update” by the Political Defence Committee (PDC) and the National Council of the Union of Burma.


2 “Changing Sides: Burmese Military Officer Seek Asylum in Norway,” Spiegel Online,http://www.spiegel.de/international/world/0,1518,509391,00.html

พม่าวิกฤต/ ระวี ภาวิไล


พม่าวิกฤต
ระวี ภาวิไล


เหตุการณ์ ความร้ายกาจ รุนแรงในประเทศพม่า ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดี จากข่าวที่แพร่ไปทั่วโลก เรื่องนี้ ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงโดยง่าย พระสงฆ์และประชาชนพม่า กำลังถูกเข่นฆ่ากะทำทารุณ ในทุกรูปแบบอย่างป่าเถื่อน นานาชาติทั่วโลก ทักท้วงประท้วงพฤติกรรมเลวทราม ต่ำจากมาตรฐานคุณธรรม ของมนุษย์
เราชาวไทยสมควรร่วมกันพิจารณาว่า ควรมีมาตรการอย่างไรเพื่อช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ก็ควรจะทบทวนถึงบทบาทของพระสงฆ์พม่า เปรียบเทียบกับพระสงฆ์ไทย ซึ่งการนี้จำเป็นต้องระลึกถึงประวัติศาสตร์การเมืองของพม่า เปรียบเทียบกันไทยด้วย
พม่าแพ้สงครามถูกอังกฤษเข้าปกครอง อังกฤษทำลายระบบกษัตริย์ แต่ปล่อยให้คณะสงฆ์พม่าดำเนินการเป็นอิสสระ
ประชาชนพม่าหันไปยึดคณะสงฆ์เป็นที่พึ่ง ทั้งในความเป็นผู้นำทางนโยบายทางสังคมและทางคุณธรรมประจำใจ
ภิกษุสงฆ์พม่า พัฒนาไตรสิกขา เถรวาทโดยปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแข็งขัน เป็นที่ประจักษ์ และอบรมฆราวาสไปด้วย
พุทธศาสนิกชนไทยที่ติดตามศึกษาธรรมและติดต่อกับเพื่อนชาวพม่า รวมทั้งชาวชาติตะวันตกรู้ความข้อนี้ดี
ความรุนแรงร้ายกาจในพม่าปัจจุบัน จึงได้รับความเอาใจใส่ และเกิดปฏิกริยาร่วมที่จะช่วยเหลือทั้งภิกษุและฆราวาสพม่า ให้พ้นจากความทุกข์
และให้ประเทศพม่า เปลี่ยนไปสู่ระบอบปกครองที่ประชาชนมีอิสระเสรีภาพสมบูรณ์
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง อังกฤษปลดปล่อยให้อิสระเสรีภาพ ที่ตนเคยปกครอง ซึ่งพม่าก็รวมอยู่ด้วย และได้มีการเลือกตั้งเพื่อมุ่งหน้าสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในช่วงต่อมา อาจวิเคราะห์ได้ว่า ความคิดเห็นทางการเมืองแตกแยกเป็นสองพวก คือประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตย และทหารที่ต้องการใช้อำนาจเผด็จการ
เมื่อการเลือกตั้งลงคะแนนมีผล แม้ปรากฏว่าฝ่ายประชาชน ซึ่งผู้นำคือ นางอองซานซูจีชนะ ฝ่ายทหารก็ใช้กำลังยึดอำนาจและคุมขังอองซานซูจี แล้วดำเนินการตั้งรัฐบาลทหาร
ต่อมาปี ๒๕๓๑ นักศึกษาพม่าประท้วง รัฐบาลทหารพม่าปราบอย่างรุนแรง มีคนตายเป็นเรือนพัน นักศึกษาประชาชนหนีภัยข้ามแดนไปประเทศใกล้เคียง จำนวนหนึ่งเข้ามาลี้ภัยในประเทศไทย
มาถึงเหตุการณ์ปัจจุบัน ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา พระสงฆ์พม่าทั่วประเทศ เดินขบวนประท้วงพร้อมกันหลายแห่ง มีนักศึกษาประชาชนเข้าร่วมด้วยมากมาย
จึงถึงขั้นที่จะตอบคำถาม
คำถาม : พระสงฆ์ไทยกับพระสงฆ์พม่าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ : เป็นสงฆ์เถรวาท มีการศึกษาสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งทางปริยัติ และปฏิบัติอย่างเดียวกัน
พระสงฆ์พม่าได้รับนับถือจากประชาชนเป็นผู้นำทางสังคมและทางคุณธรรมดังได้กล่าวถึงแล้ว
ข้อนี้แตกต่างจากในประเทศไทยที่สงฆ์ไทยไม่ได้เป็นผู้นำทางสังคม

คำถาม : ทำไมพระพม่าจึงต้องออกมาเดินขบวนประท้วง ประท้วงอะไร
คำตอบ : เพราะชาวพม่ามีความทุกข์ จึงออกมาประกาศให้ผู้ทำให้เกิดทุกข์รับรู้และหยุดการกระทำ

คำถาม : พระสงฆ์พม่าออกมาประท้วงรัฐบาลพม่า เหมาะสมถูกต้อง เป็นกิจของสงฆ์ไหม
คำตอบ : ตามเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น เป็นการประกาศให้รับรู้ความทุกข์ และให้หยุดการกระทำต่อ
ประชาชนที่มุ่งพึ่งสงฆ์

คำถาม : ประชาชนพม่ามีเรื่องอะไรเดือดร้อน จนพระต้องออกมาประท้วง
คำตอบ : ปัญหา ความขาดแคลนอุปโภคบริโภค, การกดขี่ข่มเหง, ความไม่ยุติธรรม, ความไม่ปลอดภัยต่อ
ชีวิตและทรัพย์สิน ฯลฯ

คำถาม : อาจารย์คิดว่าชาวพุทธในไทยควรจะอนุโมทนา หรือควรจะตำหนิการกระทำของสงฆ์ในครั้งนี้
คำตอบ : ควรอนุโมทนา

คำถาม : ชาวพุทธไทยควรมีท่าที และทัศนะอย่างไร ต่อพระสงฆ์พม่าที่ถูกปราบปรามโดยรัฐบาลทหาร
พม่าขณะนี้
คำตอบ : เห็นด้วย เห็นใจ หาทางช่วยเหลือทุกทาง

คำถาม : ถ้าเมืองไทยมีสถานการณ์เช่นในพม่า อาจารย์คิดว่า พระสงฆ์ไทย ควรจะมีบทบาทอย่างไร ทำไม
คำตอบ : สถานการณ์เช่นในพม่าไม่น่าจะเกิดในเมืองไทยได้ เพราะประวัติศาสตร์ความเป็นมาแตกต่างกัน
พระสงฆ์ไทยไม่จำเป็นต้องมีบทบาท เช่นพระสงฆ์พม่า

คำถาม : อาจารย์คิดว่า พระสงฆ์ไทยในขณะนี้ควรมีบทบาทและหน้าที่อย่างไรต่อพระสงฆ์พม่า
คำตอบ : หาทางติดต่อ แสดงความเห็นใจ อนุโมทนาในบุญที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ได้รับทุกข์

คำถาม : พระสงห์ไทยเงียบเพราะอะไร กำลังทำอะไร หรือไม่
คำตอบ : ตามข่าวที่ปรากฏ กำลังเผชิญและแก้ปัญหาภายในประเทศเฉพาะหน้า เช่น กรณีศิลปกรรม
“ภิกษุสันดานกา” เป็นต้น ฯลฯ

คำถาม : การเข่นฆ่า ปราบปรามพระสงฆ์พม่า ถือว่าเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาไหม เพราะเหตุใด
คำตอบ : พระพุทธศาสนา เป็นคำสอนแสดงกฎธรรมชาติที่ไม่มีวันตาย ทำลายไม่ได้ด้วยการกระทำใดๆ
พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ถูกเข่นฆ่าทารุณหลายครั้งในประวัติศาสตร์โลก แต่กฎธรรมชาติซึ่ง
เป็นแก่นพุทธศาสตร์จะอยู่ไป ส่วนคนโง่เขลาจะเวียนว่ายตายเกิดเสวยผลกรรมเป็นเวลายาวนาน

มติของชาวพุทธเถรวาททั่วไป อาศัยบันทึกในพระไตรปิฎกเถรวาท ประกอบกับคำอธิบายขยายความโดยคัมภีร์อรรถกถา และขยายความต่อโดย คัมภีร์ฎีกา และอนุฎีกา สืบต่อด้วยอัตโนมัติของอาจารย์รุ่นหลังตามลำดับ เนื้อความสำคัญ แสดงวงจรการเวียนตายเวียนเกิดข้ามภพข้ามชาติที่เรียกว่าสังสารวัฏของบุคคล โดยอำนาจของความโง่เขลา ที่เรียกว่าโมหะ หรืออวิชชา ทั้งนี้เป็นการตกอยู่ในห้วงทุกข์ เพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดความคิดยึดติดถือมั่นอยู่กับสิ่งที่เป็นที่พอใจ แล้วเกิดความโลภอยากครอบครองไว้แต่ผู้เดียว เกิดความโกรธอาฆาตพยาบาท เมื่อถูกแย่งชิง
ตามคัมภีร์เถรวาท สัตวโลกใน ๓๑ ภพภูมิล้วนเป็นเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย แต่ละช่วงชีวิตสถานภาพจะอยู่ในภพภูมิที่เป็นสุขหรือทุกข์ ผู้ได้เกิดเป็นมนุษย์นับว่าเป็นผลจากกรรมดีในอดีต แต่ถ้าหากมาประกอบกรรมชั่ว เบียดเบียนฆ่าฟันถึงขั้นพระสงฆ์ ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องเกิดชดใช้กรรมนั้นยืดยาวนานในอบายแน่นอน จึงควรเป็นผู้น่าสงสาร และช่วยให้สำนึกหยุดทำ

๘ ตุลาคม ๒๕๕๐

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ชาวกะเหรี่ยงผู้พลัดถิ่นภายในประท้วงรัฐบาลพม่า ณ ริมฝั่งน้ำสาละวิน










Burma Peace Group ฉบับที่ 10
9 ตุลาคม 2550
รูปชาวกะเหรี่ยงผู้พลัดถิ่นภายในประท้วงรัฐบาลพม่า ณ ริมฝั่งน้ำสาละวิน






นี้คือรูปการประท้วงของชุมชนชาวกะเหรี่ยงผู้พลัดถิ่นภายในประเทศพม่า ประมาณ 500 คน ที่อาศัยอยู่ ณ ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ตรงข้ามประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2550
ผู้พลัดถิ่นภายในประมาณ ราว 500 คนได้ชุมนุมกันตั้งแต่ 8 โมงเช้าจนถึงเที่ยงวัน เพื่อประท้วง SPDC ที่ฆ่าพระสงฆ์ ประชาชน และนักศึกษาในพม่า พวกเขาได้เปล่งคำประท้วง และเดินไปรอบๆหมู่บ้านโฮเก (ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำสาละวินห่างจากแม่สามแลบไปทางตอนเหนือราว 2 ชั่วโมงหากเดินทางโดยเรือ) พวกเขาทั้งหมดเป็นผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ ซึ่งหลบหนีจากการสู้รบในรัฐกะเหรี่ยงเมื่อไม่นานมานี้ และปฏิเสธที่จะเข้าไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย

This some photos of a demonstration that took place on Oct 3 on the western bank of the Salween River, opposite Thailand, by some of the Karen IDP communities there. About 500 Karen IDPs gathered from 8 am to midday to protest the killings of monks, civilians and students in Burma by the SPDC. They gave speeches and then walked around the village of Ho Kay (on the bank of the Salween River about 2 hours by boat north of Maesamlaep). Many of these are IDPs who have fled recently from fighting in Karen State and have been refused entry to refugee camps inside Thailand.

พม่าเดือด : จากลานโพธ์ถึงชเวดากอง



Burma Peace Group ฉบับที่ 9
8 ตุลาคม 2550
พม่าเดือด : จากลานโพธ์ถึงชเวดากอง

28 กันยายน 2550 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ยามบ่ายแก่ๆ ศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดเวทีเสวนาเรื่อง “พม่าเดือด” โดยมี ดร.ซาน อ่อง อัษฎา ชัยนาม และอดิศร เกิดมงคล ร่วมเวทีเสวนา
ดร.ซาน อ่อง เริ่มต้นฉายภาพสถานการณ์การประท้วงในประเทศพม่าว่า พระสงฆ์ในประเทศพม่ามีบทบาททางการเมืองที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต โดยเฉพาะในยุคอาณานิคมที่มีพระสงฆ์เป็นผู้นำต่อต้านการรุกรานจากประเทศอาณานิคม อย่างไรก็ตามการประท้วงของประชาชนที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ประชาชนมีค่าครองชีพสูงขึ้น เนื่องมาจากการประกาศขึ้นราคาน้ำมันในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ประชาชนซึ่งมีรายได้ต่ำมากอยู่แล้วยิ่งส่งผลให้ประชาชนไม่มีเงินทำบุญมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การประท้วงในปี 1988 มีนักศึกษาเป็นแกนนำในการประท้วง การเคลื่อนไหวปัจจุบันที่เกิดจากพระสงฆ์ เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพระสงฆ์ ซึ่งผิดหลักคำสอนทางพุทธศาสนาในประเทศพม่าว่าใครก็ตามที่กระทำการใดเป็นอุปสรรคต่อการทำบุญกับพระสงฆ์ถือว่าเป็นบาป จึงทำให้มีการประท้วงเกิดขึ้น นอกจากนี้พลังนักศึกษายังถดถอยลง เนื่องจากสถาบันการศึกษาได้ถูกปิดลงแทบทั้งหมด ทำให้เหลือสถาบันพระสงฆ์ เพียงสถาบันเดียวที่ยังมีพลังอยู่
อดิศร เกิดมงคล มองต่อว่า ภายหลังเหตุการณ์รัฐบาลทหารพม่าสังหารประชาชนเมื่อปี 1988 มีประชาชนบางกลุ่มในประเทศพม่าพยายามเคลื่อนไหวทางการเมืองมาตลอด แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเนื่องจากความหวาดกลัวรัฐบาลทหาร อย่างไรก็ตามเหตุการณ์สำคัญที่เป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญ คือเหตุการณ์นักศึกษาประท้วงรัฐบาลพม่าในปี 2000 ที่เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง โดยทำการแต่งชุดขาว ร่วมกันจุดเทียน สวดมนต์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเรียกร้องอย่างสันติ ซึ่งการเคลื่อนไหวในครั้งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนให้ประชาชนเริ่มเห็นช่องทางในการเคลื่อนไหวโดยสันติ และใช้พิธีกรรมทางศาสนาเป็นเครื่องมือ โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำ สถานการณ์ในพม่าจะรุนแรงอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถยุติได้หากประเทศข้างนอกยังไม่มีบทบาทที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามตนเองผิดหวังต่อบทบาทของรัฐบาลไทยและอาเซียนที่ทำให้สถานการณ์ในประเทศพม่ายิ่งแย่ลง โดยเฉพาะกรณีที่พล.อ.สรยุทธ์ จุลานนท์ และผู้นำของจีนที่กล่าวตรงกันว่ารัฐบาลพม่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ ทำให้รัฐบาลพม่าคิดว่าการปราบปรามประชาชนของตนนั้นไม่ผิด นอกจากนี้กรณีที่พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลินออกมาบอกว่าสถานการณ์ในพม่านั้นไม่รุนแรง สะท้อนถึงความไม่รู้ของพล.อ.สนธิ การทูตไทยในพม่าเป็นการทูตแบบทหารที่มองแต่เรื่องความมั่นคง ขณะที่สถานการณ์ในพม่าเลวร้ายลงแต่ไทยกลับพยายามจับตามองแรงงานพม่าในไทยว่าจะมีการเคลื่อนไหวสร้างปัญหาต่อรัฐบาลไทยหรือไม่ ทั้งที่แรงงานเหล่านี้กำลังกังวลและเป็นห่วงต่อญาติพี่น้องในประเทศตนเอง ซึ่งถือเป็นสันดานของพวกยึดอำนาจคนอื่นมาก็จะกลัวแต่ปัญหาเรื่องความมั่นคง แต่ไม่มองเรื่องปัญหาการเมืองภายในประเทศพม่า ซึ่งท่าทีดังกล่าวของรัฐบาลไทยสะท้อนว่า ยอมรับการปราบปรามของรัฐบาลพม่าและยอมให้มีคนตายได้ แต่ไม่ยอมหากมีคนหนีภัยการเมืองเข้ามาในไทย ซึ่งเป็นท่าทีที่เลวร้ายและไม่ถูกต้อง ดังนั้นรัฐบาลไทยควรเปลี่ยนท่าทีในเวทีอาเซียนใหม่ ด้วยการเสนอเป็นตัวกลางเจรจากับรัฐบาลพม่า ซึ่งจะทำให้ให้สถานการณ์ความรุนแรงในพม่าคลี่คลายลงได้

อัษฎา ชัยนาม กล่าวว่าตามกฎบัตรแห่งสหประชาชนระบุไม่ให้ประเทศใดยุ่งเกี่ยวกิจการภายในของประเทศอื่น ซึ่งเหตุการณ์สลายการชุมนุมในพม่านั้นในด้านกฎหมายยังถือเป็นกิจการภายในประเทศ การกดดันรัฐบาลพม่าจากมิตรประเทศจึงทำได้ยาก อย่างไรก็ตามหากมองในแง่สิทธิมนุษยชนแล้วรัฐบาลพม่าได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่กำหนดให้รัฐบาลมีพันธะในสิทธิมนุษยชน ในการการปกป้องดูแลประชาชนในประเทศตนเอง อย่างไรก็ตามการแสดงท่าทีของรัฐบาลไทยได้ทำให้เวทีโลกและประชาชนไทยผิดหวัง โดยเฉพาะคำพูดของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่กล่าวว่า คมช.ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับปัญหาภายในของพม่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรพูด เพราะต่างประเทศจะมองว่ารัฐบาลไทยที่มาจาการรัฐประหารเป็นพวกล้าหลัง ตนขอให้ประชาชนในพม่าใช้สันติวิธีต่อสู้กับรัฐบาลของตนเองต่อไป โดยประชาชนต้องร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับพระสงฆ์ต่อไป อย่ายอมแพ้ เพราะยังมีทหารพม่าบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการปราบปรามของรัฐบาลตนเอง อาจจะกลายเป็นพันธมิตรเข้าร่วมกับประชาชน อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างประชาธิปไตยในพม่าขึ้นอยู่กับประชาชนพม่าเอง เพราะต้นไม้แห่งประชาธิปไตยบางครั้งต้องรดด้วยเลือดแม้จะไม่มีใครอยากให้เกิดการนองเลือดก็ตาม
ต่อมาอีกหนึ่งสัปดาห์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2550 เวลาเย็นย่ำ มีเวทีเสวนาวงเล็กๆเรื่อง “จากลานโพธิ์ถึงชเวดากอง ความรุนแรงเชิงเปรียบเทียบไทย-พม่า” ผู้ฉายภาพเรื่องราวประกอบด้วย ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล สุณัย ผาสุข และสุนี ไชยรส
บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ มองว่า การเมืองของประเทศพม่าคล้ายกับการเมืองของไทย โดยเฉพาะในช่วงปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ขณะที่พม่าเรียกร้องการปลดปล่อยตนเองออกจากประเทศอาณานิคม อย่างไรก็ตามการเมืองพม่าถูกปกครองโดยเผด็จการทหารมายาวนานกว่า 45 ปี ขณะที่ประเทศไทยถูกปกครองระหว่างรัฐบาลทหารสลับกับรัฐบาลพลเรือนเป็นระยะๆ ทั้งนี้การเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์14 ตุลาคม 2516 ทำให้สังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และเปิดให้กลุ่มทุนได้เข้ามามีบทบาททางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศพม่ากลุ่มทุนไม่มีโอกาศเติบโตเท่าที่ควร จึงไม่มีกลุ่มอำนาจใดที่จะมีพลังพอที่จะคานอำนาจกับรัฐบาลทหารพม่าได้ ขณะที่องค์กรสื่อสารมวลชนและนักศึกษาก็ถูกปิดกั้นเช่นกัน เหตุการณ์ความรุนแรงในพม่าเกิดขึ้นเพราะรัฐบาลพม่าไม่สนใจปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งที่ก่อนหน้านี้พม่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติและถือเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของเอชีย แต่เพียงเวลาล่วงมา 30-40 ปี พม่ากลับเป็นประเทศที่ยากจนและถดถอยที่สุดในโลก เช่นเดียวกับประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งเหตุมาจากมีรัฐบาลเผด็จการและใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชน ประเทศไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่าเช่นกัน เช่น กรณีโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า เนื่องจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยต้องเสียเงินให้กับรัฐบาลพม่าวันละหลายร้อยล้านบาท ขณะที่ผู้แทนปตท.เองกลับออกมาประกาศว่าประเทศไทยรับก๊าซธรรมชาติจากพม่าเพียงวันละ 1,000 ลูกบาศก์ฟุตเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าเงินที่จ่ายไปมาก ทำให้คนไทยต้องแบกรับภาระจ่ายค่าไฟฟ้าแพงนั่นคือค่าเอฟที ซึ่งเหมือนจ่ายค่าโง่ให้รัฐบาลพม่า และทำให้รัฐบาลพม่านำเงินที่ได้ไปใช้ซื้ออาวุธในการปราบปรามประชาชน ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้ปตท.คำนึงถึงมนุษยธรรมมากกว่าผลประโยชน์ทางธุรกิจ ด้วยการระงับการจ่ายเงินดังกล่าวให้กับรัฐบาลพม่าชั่วคราวเพื่อเป็นการตัดท่อน้ำเลี้ยงดังกล่าว
ด้านปริญญา เทวานฤมิตรกุล กล่าวว่า การที่อาเซียนไม่ยอมบอยคอร์ทรัฐบาลพม่า โดยอ้างว่าต้องการชักจูงให้พม่าเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยนั้น ถือว่าเป็นการล้มเหลวเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้พิสูจน์แล้วว่าประเทศพม่า



ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้นหากประเทศไทยยังนิ่งเฉยไม่ยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกิจการภายในของประเทศพม่านั้นไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลพม่าได้พิสูจน์ให้ประชาคมโลกเห็นแล้วว่าตนเองไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร แต่กลับมีพฤติกรรมที่แย่ลงกว่าเดิม เห็นได้จากการปราบปรามประชาชนและพระสงฆ์ในขณะที่มีการประชุมสหประชาชาติ ประเทศไทยเองจะเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยที่กว่าครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายจากพม่า นอกจากนี้เงินที่รัฐบาลพม่าใช้ซื้ออาวุธปืนยิงประชาชน ส่วนหนึ่งมาจากค่าก๊าชธรรมชาติที่ไทยจ่ายให้พม่าปีละ 80 ล้านเหรียญหรือ 3,000 ล้านบาท ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์ที่รุนแรง และนานาชาติได้ร่วมมือกันประณามพม่า หากประเทศไทยยังนิ่งเฉยต่อไปเท่ากับเป็นการสนับสนุนและเห็นด้วยกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ถึงเวลาแล้วที่ไทยและอาเซียนต้องเลิกนิ่งเฉย รัฐบาลไทย, จีน, อินเดีย และสิงคโปร์ จะต้องร่วมมือกันให้เกิดการเจรจาด้วยการบังคับให้พม่ายุติการใช้ความรุนแรง เพราะจีนและอินเดีย เป็นประเทศที่มีน้ำหนักที่สุดเนื่องจากทำธุรกิจและได้ประโยชน์จากพม่ามากที่สุด ส่วนสิงคไปร์เป็นประเทศที่ทหารพม่านำเงินจากการทำธุรกิจไปฝากไว้ ดังนั้นรัฐบาลทั้ง 4 ประเทศ ต้องร่วมมือกันกดดันรัฐบาลพม่า เพราะถือเป็นทางเดียวที่ช่วยแก้ปัญหาได้ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้นักศึกษาไทยและพระภิกษุของไทยออกมาเคลื่อนไหวเรื่องประชาธิปไตยในพม่าให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ขณะที่สุณัย ผาสุข กล่าวว่า รัฐบาลทักษิณได้ร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการจับกุมนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยในไทย โดยส่งคนเหล่านั้นกลับไปยังประเทศพม่า เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ของตนเองมากกว่ามนุษยธรรม ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็ไม่ได้แตกต่างกันแต่อย่างใด สังเกตได้จากท่าทีของภาครัฐที่กล่าวว่าไม่อยากเห็นชาวพม่าพลัดถิ่นมาเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งเป็นคำพูดที่แสดงถึงการไม่เห็นอกเห็นใจ ทั้งที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่อวดอ้างว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลไทยตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะในเขตชายแดน อ.แม่สอด และอ.แม่สาย ที่เจ้าหน้าที่รัฐไทยมีแนวโน้มที่อาจร่วมมือกับรัฐบาลพม่าเพื่อจับกุมชาวพม่าในไทยที่เคลื่อนไหวประชาธิปไตย ส่งตัวกลับให้รัฐบาลพม่า สำหรับท่าทีของสหประชาชาติหรือยูเอ็นต่อการแก้ปัญหาในพม่าด้วยการส่งตัวแทนของยูเอ็นเข้าไปในพม่านั้นถือว่าล้มเหลว เพราะไม่สามารถยุติการปราบปรามประชาชนของรัฐบาลพม่าได้ แต่ยังมีการตามล่าประชาชนจากทหารพม่าอยู่ นอกจากนี้นักโทษการเมืองที่ถูกรัฐบาลพม่าจับกุมไปยูเอ็นก็ไม่สามารถได้คำตอบว่ามีจำนวนเท่าใดและอยู่ที่ไหน อย่างไรก็ตามเห็นว่านอกจากจีนและอินเดียแล้ว ประชาคมโลกต้องเรียกร้องให้รัสเซียเข้ามาร่วมกดดันพม่าด้วย เนื่องจากเป็นประเทศที่ค้าอาวุธให้กับพม่า อีกทั้งขอเรียกร้องไปยังผู้ค้าและผู้ลงทุนของไทย ที่เข้าไปทำธุรกิจในพม่า เช่น บริษัทเซเว่น อีเลฟเว่น ให้ช่วยกันเรียกร้องหรือติดสติ๊กเกอร์หน้าร้านเพื่อแสดงออกให้รัฐบาลพม่ายุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชนด้วย หากรัฐบาลไทยไม่ช่วยประชาชนจากพม่าถือว่าใจดำมาก การพูดอย่างเดียวโดยไม่ทำอะไรจะไม่เกิดประโยชน์ มีความพยายามในรัฐบาลไทยที่จะปล่อยข่าวว่าสถานการณ์ในประเทศพม่าจะสร้างปัญหาให้กับประเทศเรา เช่น ในสมัยรัฐบาลทักษิณ มีการขอให้รัฐบาลทักษิณจับกุมนักศึกษาพม่า เพราะกลัวว่าจะเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลพม่า ซึ่งทักษิณก็ได้ดำเนินการตามที่ร้องขอ เพราะห่วงแต่ผลประโยชน์ตนเอง ขณะที่รัฐบาลปัจจุบันก็ไม่ได้แตกต่างจากรัฐบาลทักษิณเท่าใดนัก ดูจากที่พลเอกสนธิ กล่าวว่า รัฐบาลพม่าปราบปรามประชาชนนั้นเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Global Day of Action on Burma




Global Day of Action on Burma, campaigners in Bangkok will


MARCH FOR PEACE AND DEMOCRACY IN BURMA


and tell the Thai government to “Help refugees, stop trade” Tomorrow Thai campaigners will mark the Global Day of Action on Burma and the anniversary of the 6th October 1976 Thai student fight for democracy


by marching from Democracy Monument to Thammasat University.


They will use the occasion to tell the Thai government that they need to do more to help the Burmese people by:
Helping refugees fleeing from Burma to Thailand
Stopping all trade with the junta


As a result of the brutal crackdown on demonstrators, more Burmese people are fleeing into Thailand to escape the junta’s rule. Mass arrests continue to be made as the military hunt down protestors, declaring


“We have photos. We are going to make arrests!”. Fearing torture and even death, some Burmese people have begun to flee into Thailand. More are expected to arrive as they make their way through Burma and across the border.


“The Thai authorities, as well as UNHCR, must treat these refugees – both those just arriving and those who have been here long-term – with dignity and respect. They are literally fleeing for their lives.


“The Thai government must be more accommodating. We received reports last week that dozens of Burmese were deported after taking part in demonstrations in Thailand against the junta. This is unacceptable,


” said the Thai campaigners. Campaigners will also demand that the Thai government stop trading the military junta. The close economic ties between Thailand and Burma have helped prop up the dictatorship and prolong the junta’s rule.


“Natural gas exported to Thailand and massive hydropower projects bring in a huge amount of foreign exchange for the junta.


“The Thai government must take concrete action to pressure the Burmese generals. While India and China are obviously the biggest investors in the country, the Thai government also has leverage, and it must exert it.” Information for journalists:


schedule will be: . .. .


8.00 amMarch begins at Democracy Monument, heading towards Thammasat University 9.30amSpeeches by group representatives at Larnpo near Chao Praya river, Buddhist ceremony and historical tours of Thammasat University


12pmSign petition together in front of Thammasat small meeting hall


2pmJoin the October 6th memorial program at small meeting hall


Saturday 6th October, marks two important occasions:
A Global Day of Action on Burma – people will march in cities across the world to express solidarity with the Burmese people and demand action against the junta
The anniversary of 6th October 1976 when Thammasat University were killed




For further information on the march or petition, please contact Mr. Metha Matkow 0814555928






ขอเชิญร่วมกิจกรรม
“เดินเพื่อสันติภาพ ประชาธิปไตยและประชาชนพม่า หยุดอาชญากรรมโดยรัฐ”
ร่วมรำลึกถึงประชาชนผู้เสียชีวิตจากการก่ออาชญากรรมโดยรัฐ ทั้งไทยและพม่า
จากประชาชนถึงประชาชน จากลานโพธิ์สู่ชเวดากอง
วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2550

ตั้งขบวนเวลา 08.00 น. บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
ออกเดินจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยสู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ร่วมรำลึกถึงประชาชนที่เสียชีวิตเนื่องมาจากการใช้ความรุนแรงของรัฐในการปราบปรามประชาชน
ทั้งในประเทศไทย และพม่า ณ บริเวณลานโพธิ์ (ด้านหน้าคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ร่วมร้องเพลง อ่านบทกวี และแถลงการณ์ขององค์กรและกลุ่มประชาชนต่างๆ เพื่อเรียกร้องสันติภาพ
และยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่า
จุดเทียนส่องทางแก่หนทางไปสู่ประชาธิปไตย และส่งกำลังไปถึงประชาชนพม่า
หลังจากนั้นร่วมทัวร์ประชาธิปไตยย้อนรอยรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้ทางการเมืองของประชาชนไทย
พูดคุยเพื่อรับรู้และแลกเปลี่ยนเรื่องราวการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจากประชาชนสู่ประชาชน ณ บริเวณลานปรีดีฯ

ขอเชิญชวนทุกท่านนำบทกวี บทเพลง ป้ายข้อความคัดค้านการใช้ความรุนแรงในพม่า
และสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
เราจะร่วมลงนามคำร้องขอรัฐบาลไทยและสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติเพื่อรองรับการหนีภัยการเมืองของคนพม่าที่หอประชุมเล็ก

กลุ่มใดที่มีกิจกรรม เช่น ดนตรี ละคร สามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ 089 -7887138

“ประชาชนเท่านั้นที่จะร่วมกันสร้างประชาธิปไตยอย่างแท้จริง”

BPG ฉบับที่ 8 สันติวิถีไม่พ่ายแพ้

Burma Peace Group ฉบับที่ 8
5 ตุลาคม 2550
สันติวิถีไม่พ่ายแพ้

ราวกันยายนปีที่แล้ว ฉันเดินทางไปย่างกุ้งเพื่อเข้าอบรมวิปัสสนา สถานที่ปฏิบัติธรรมนั้นอยู่ใกล้กับเจดีย์ชเวดากอง ในช่วงเวลาสั้นๆที่ได้มีโอกาสเดินเตร็ดเตร่ ฉันได้สัมผัสถึงกลิ่นอายของความอัตคัดขัดสนของผู้คนที่นั่น แม้ว่าเวลาจะล่วงสายมากแล้ว พระสงฆ์พม่าหลายรูปก็ยังคงเดินบิณฑบาต เช่นเดียวกับแถบชายแดนแม่สอด ที่ฉันเคยเห็นแม่ชีและพระสงฆ์พม่ามาเดินบิณฑบาตกันอยู่เกลื่อน
เมื่อฆราวาสอดอยากยากจน พระสงฆ์ก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกนักที่เราจะได้เห็นท่านออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการกระทำของรัฐบาลทหารพม่า ในเมื่อท่านอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ที่จะรับรู้ถึงความลำบากยากแค้นของประชาชนได้ใกล้ชิด
แม้ว่าการชุมนุมในประเทศพม่าครั้งนี้ จะถูกสลายลงด้วยการใช้ความรุนแรงจากรัฐบาลทหารพม่าอีกครั้ง แต่ก็ใช่ว่าความรุนแรงนั้นจะทำให้ประชาชนพม่ายอมจำนน
ก่อนการชุมนุมและการปราบปราม พระสงฆ์จำนวนมากไม่ยอมรับอาหารจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลทหาร การแต่งกายของดอว์ อองซานซูจีในวันที่ออกมาพบกลุ่มพระสงฆ์ ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่านางสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้ กระทั่งเมื่อมีการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมแล้ว ประชาชนจำนวนไม่น้อยก็ยังแสดงการต่อต้านด้วยการปฏิเสธที่จะดูโทรทัศน์ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ บางส่วนก็ร่วมกันหยุดใช้ไฟฟ้าเพื่อแสดงความไม่พอใจให้ปรากฏ ทหารที่ยอมรับการกระทำของรัฐบาลทหารต่อประชาชนไม่ได้ก็ตัดสินใจหนีทัพออกนอกประเทศ
การเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจไม่เป็นที่ถูกจับตามองของสื่อ แต่สำหรับฉันแล้ว มันเป็นการต่อต้านโดยใช้สันติวิธีที่มีพลังยิ่ง อำนาจทหารไม่ได้ทำให้พวกเขาก้มหัวด้วยความหวาดกลัว พวกเขายังคงปฏิบัติการต่อต้านรัฐอย่างต่อเนื่อง และไม่ยอมแพ้
การใช้ความรุนแรงโดยฝ่ายปกครองของพม่านั้น ไม่เพียงแต่เริ่มขึ้นเมื่อ 19 ปีที่แล้ว แต่ได้ดำเนินมาก่อนหน้านั้นหลายทศวรรษ กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นมอญ ไทใหญ่ คะฉิ่น กะเหรี่ยง คะเรนนี นากา อาระกัน ล้วนรู้รสชาติการถูกกดขี่ข่มเหงนี้มาเป็นอย่างดี ประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย ต้องรับผลของการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่าอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรุนแรงทางตรง ซึ่งคือการกระทำระหว่างบุคคลต่อบุคคล เช่น การทำร้ายร่างกาย ฆ่า ข่มขืน ทรมาน ฯลฯ หรือการใช้ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง อันเป็นการลดทอนศักยภาพของมนุษย์ เช่น การที่กองทัพพม่านำงบประมาณแผ่นดินไปซื้ออาวุธ แทนที่จะมาใช้ดูแลการศึกษาหรือสุขภาพให้กับเด็ก ๆ เป็นต้น ดังที่เราได้เห็นผู้ลี้ภัยที่เข้ามาพักพิงอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า หรือแรงงานอพยพจำนวนหลักล้านในจังหวัดต่าง ๆทั่วประเทศนั่นเอง
ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ฉันคิดว่าเราควรช่วยกันสนับสนุนเป็นกำลังใจให้แก่พี่น้องและพระสงฆ์ชาวพม่าที่กำลังต่อสู้เพื่อสันติภาพในประเทศของตน เพื่อให้เขารู้ว่า ตนไม่ได้กำลังต่อสู้อยู่อย่างโดดเดี่ยว
แต่อาจไม่ง่ายนัก ประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทยฝังลึกอยู่ในหัวของเราหลายคนจนเกินไป เรามีอคติต่อคนพม่าเสมอมา เพื่อนต่างชาติของฉันเพิ่งเล่าให้ฟังว่า เมื่อเขาชวนเพื่อนคนไทยไปร่วมกิจกรรมจุดเทียนภาวนาที่หน้าสถานฑูตพม่า เพื่อนกลับย้อนถามว่า ทำไมเราจึงต้องไปช่วยคนพม่าด้วย ในเมื่อเขาเหล่านี้เคยรุกรานประเทศไทยมาก่อน



ฉันประเมินผิดไป เมื่อแรกที่เห็นภาพพระสงฆ์พม่าออกมาประท้วง ฉันคิดว่าพี่น้องชาวไทยซึ่งนับถือศาสนาพุทธคงจะออกมาร่วมกันสนับสนุนการเคลื่อนไหวครั้งนี้เสียอีก น่าแปลกที่เมื่อมีการเรียกร้องให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เราก็สนับสนุนกันออกหน้าออกตาบนท้องถนน แต่เมื่อพระสงฆ์ชาวพม่าออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับประชาชนจนถูกทำร้ายและสังหารอย่างเหี้ยมโหด เราคนไทยชาวพุทธกลับนิ่งเฉยในวันเดียวกันที่มีการเสนอข่าวการประท้วงในพม่า ก็มีข่าวพระสงฆ์ไทยประท้วงเช่นกัน แต่เป็นการประท้วงภาพวาดที่พาดพิงถึงพระสงฆ์เอง เห็นภาพการต่อสู้ของพระไทยและพม่าแล้ว ฉันรู้สึกเศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก
หลายครั้ง ฉันอดตั้งคำถามไม่ได้ว่า อะไรกันที่ทำให้เรายอมรับกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าตัดตอนยุคนายกทักษิณปราบปรามยาเสพติด หรือในวันนี้ ที่มีการสนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงกับชาวมุสลิมในภาคใต้ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับความคิดที่ว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป”
ฉันนึกไปถึงท่าทีที่เรามีต่อ “ยุง” เมื่อเปรียบยุงว่า “ร้ายกว่าเสือ” น่าเกลียดน่ากลัว และเป็น “อื่น” เราก็หาวิธีการมาจัดการมันอย่างไร้ความเมตตา เราบดขยี้ ตบมันด้วยมือ รวมไปจนถึงพัฒนาเครื่องมือไฟฟ้ามากำจัดมัน เราต้องกำจัดยุง เชื่อว่ามันเป็นพาหะนำเชื้อมาเลเรียและไข้เลือดออก แต่เราไม่เคยถามตัวเองเลยว่า แล้วยุงมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
คงไม่ต่างอะไรกันกับยุง เราป้ายสีและสร้างภาพให้กับแรงงานพม่า ชนเผ่า หรือคนมุสลิม โดยการลดภาพคุณค่าของความเป็นมนุษย์ของพวกเขา แล้วเราก็กระทำกับเขาได้ราวกับเขาเป็น “อื่น” ที่ไม่ได้เป็นมนุษย์เฉกเช่นเดียวกับเรา ที่ต่างเกลียดทุกข์และรักสุข
เรามีภาพของคนพม่า ที่ดูเหมือนไม่ใช่คนเหมือนเรา แล้วเราก็เพิกเฉยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาได้ เพราะเขาเป็น “อื่น” ที่ไม่ได้เกลียดทุกข์และรักสุขเช่นเดียวกับเราละหรือ?
มีคนบอกว่า สันติวิธีเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล เพราะรอบตัวเรามีศัตรูและอันตรายมากมายนัก ฉันได้ยินคนบอกว่า สันติวิธีในพม่าก็ไม่ได้ผล เพราะประชาชนถูกปราบปรามแล้วก็ต้องพ่ายแพ้ แล้วฉันก็ไม่ใคร่สบายใจ
การใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่าไม่ได้บ่งชี้ว่าสันติวิธีไร้น้ำยา ปฏิบัติการสันติวิธีบอกเราว่า อำนาจจากปลายกระบอกปืนไม่สามารถควบคุมหรือทำให้มนุษย์เราหวาดกลัวได้ต่างหาก
หากคนไทยยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี เราจะปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เราจะเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่ว่าเขาคนนั้นจะพูดภาษา และถือศาสนาความเชื่อที่แตกต่างไปจากเรา และไม่ว่าเขาจะดีหรือเลว สันติวิธีมุ่งขจัด “ความหลงผิด” ในตัวบุคคล โดยไม่มุ่งขจัดตัวบุคคลนั้น เพราะสันติวิธีเชื่อว่า ความเลวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นที่พระพุทธเจ้าได้ทรงให้โอกาสกับองคุลีมาลมาแล้ว
หากเราเคารพผู้อื่นอย่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน สันติวิธีก็คงจะไม่เป็นแค่เพียงวิธีการ แต่จะเป็นสันติวิถีที่เราปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวัน
ฉันหวังว่าสักวันหนึ่งคนไทยจะก้าวพ้นจากกับดักแห่งมายาอคติ ที่ถูกรัฐชาติสร้างกรอบให้เรามีเพียงพื้นที่แห่งความเป็น “ไทย” จนหลงลืมไปว่า สังคมหนึ่ง ๆนั้นต้องประกอบไปด้วยความหลากหลายและความแตกต่าง
ฉันหวังว่า สันติวิธีในประเทศพม่า จะได้รับการสนับสนุนและกำลังใจจากเราอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อพวกเขาไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจที่ไม่เป็นธรรม เราก็จะต้องไม่ยอมจำนนด้วย

BPG ฉบับที่ 7 “ว่ากันว่า ดาวดวงหนึ่งที่ตกลงเมื่อคืนนี้ จะยังทอประกายไปอีกหลายพันปีแสง”

Burma Peace Group ฉบับที่ 7
4 ตุลาคม 2550
“ว่ากันว่า ดาวดวงหนึ่งที่ตกลงเมื่อคืนนี้ จะยังทอประกายไปอีกหลายพันปีแสง”

เสียงเพลงจากภาพยนตร์เรื่อง GIE ปลุกความอ่อนล้า อารมณ์ที่เศร้าหมองจากการรับรู้ข่าวคราว ภาพประชาชนถูกทำร้ายจากสื่อต่างๆ ให้เรามีความหวังกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในชีวิตประจำวันของประชาชนในพม่าครั้งนี้
ในช่วงทศวรรษที่ 60 นับเป็นช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองอินโดนีเซีย ช่วงกลางทศวรรษดังกล่าวมีการปราบปรามผู้ที่มีแนวคิดสังคมนิยม ต่อต้านรัฐบาลทหารและนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง กล่าวกันว่ามีประชาชนที่ถูกสังหารไปกว่า 6 ล้านคน GIE ได้กลายเป็นต้นแบบของนักศึกษาจำนวนมากในอินโดนีเซีย เป็นแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆคน ให้หันมาสนใจการเมือง ปัญหาสังคม และความทุกข์ยากที่ประชาชนส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียยังต้องประสบพบเจอแม้ผู้นำเผด็จการจะถูกโค่นล้มไปแล้วก็ตาม
ต่อมาอีก 30 ปี ทศวรรษที่ 90 ในประเทศพม่า วันที่ 8 สิงหาคม 1988 Min Ko Naing แกนนำนักศึกษาที่เคลื่อนไหวต่อต้านเผด็จการและต้องการขับไล่ เส่ง ลวิน (Seng Lwin) ผู้นำทางการเมืองในขณะนั้นให้พ้นไปจากตำแหน่ง นำกลุ่มนักศึกษา ประชาชน และพระสงฆ์ ออกมาชุมนุมเพื่อกดดันรัฐบาลทหารให้ดำเนินการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษการเมือง หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อยาวนาน และมีประชาชนมาเข้าร่วมมากขึ้นทุกที กองกำลังทหารพม่าตัดสินใจยิงปืนกราดเข้าไปในฝูงชนกลางดึกของคืนวันนั้น
สิบเก้าปีผ่านไป อุดมการณ์ของ GIE และ Min Ko Naing ไม่เคยสูญเปล่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศพม่าครั้งนี้ อย่างน้อยชี้ชวนให้เห็นว่า “ยังมีความหวังเสมอกับการเปลี่ยนแปลงในวันพรุ่ง” การเคลื่อนไหวในครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความทุกข์ยากลำบากและตีบตันของหนทางที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง สถาบันทางการเมืองเดิมๆของประเทศพม่า ไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ขบวนการนักศึกษา ถูกทำลายมาตลอดช่วงเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมา ความหวังที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าถูกส่งผ่านไปยังพลังภายนอกให้ช่วยในการเปลี่ยนแปลง เช่น การคาดหวังว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้ ประเทศนั้นประเทศนี้ องค์กรนั้นองค์กรนี้จะต้องเข้ามาทำอะไรในพม่า เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความหวังแบบนี้เป็นสิ่งที่ผมไม่เคยเห็นด้วยมาตลอด
ผมรู้สึกว่าประชาชน คนธรรมดาต่างหาก คือความหวังของการเปลี่ยนแปลง แม้จะไม่รวดเร็วแต่มันแน่นอนและยั่งยืน สิ่งที่ผมและเพื่อนร่วมทางบางคนพยายามทำ พยายามสร้าง คือ การตระหนักว่าตัวประชาชนเองมีพลัง การทำให้คนธรรมดาอย่างพวกเขาและเธอเชื่อว่า สองมือของเราสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เหมือนกับที่ผมเคยพูดไว้ว่าการออกมาต่อสู้ของประชาชนพม่าในครั้งนี้คือการเอาชนะความกลัวครั้งยิ่งใหญ่ของพวกเขา เพราะชีวิตของพวกเขาตลอดมาต้องตกอยูในความกลัวที่รัฐทหารได้สร้างขึ้น เมื่อประมาณปลายปีที่ผ่านมา ผมเริ่มเห็นความหวังจากการเคลื่อนไหวของกลุ่มชุดขาว ที่กล้าลุกขึ้นมากระตุ้นให้ผู้คนก้าวข้ามความกลัว ออกมาทำอะไรที่ง่ายๆแต่มีพลัง เช่น การออกมาร่วมสวดมนต์ทั่วประเทศ ความหวังครั้งนั้นก็ทอดยาวมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อภาพธรรมยาตราของบรรดาพระสงฆ์ที่ก้าวออกมาบอกกับทหารทั้งหลายว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของชาวบ้าน ชาวบ้านต่างเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ถึงเวลาแล้วที่ประเทศพม่าต้องเกิดการ


เปลี่ยนแปลง ภาพอันน่าประทับใจระหว่างทิวแถวของขบวนสงฆ์ควบคู่ไปกับขบวนโซ่มนุษย์ที่ยื่นมือกระชับมือต่อมือ เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งการปกป้องพระสงฆ์เหล่านั้น ผมนั่งมองภาพด้วยน้ำตาซึมๆ ออกมาด้วยความตื้นตันและเปี่ยมความหวัง แม้ในใจอีกด้านหนึ่งจะหวาดหวั่นอยู่ก็ตาม
ภาพการปราบปรามพระสงฆ์อย่างเหี้ยมโหดปรากฎออกมา แต่ทุกครั้งกลับไม่ทำให้แรงฮึดสู้ของประชาชนพม่าเหล่านั้นสูญหายไป พวกเขาพยายามเปลี่ยนวิธีการต่างๆไปเรื่อยๆเพื่อต่อสู้ให้ถึงที่สุด ผมกำลังคิดถึงเพลง L’Internationale ที่ท่อนแยกในเวอร์ชั่นภาษาไทยบอกว่า "นี้เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย สามัคคีให้ถึงวันพรุ่ง" ผมรู้ครับว่าวันพรุ่งมันอาจจะมาถึงในอีกไม่กี่ชั่วโมง แต่มันยาวนานนักสำหรับการต้องเอาตัวรอดจากการไล่ล่าปราบปราม เพื่อลุกขึ้นสู้อย่างกล้าหาญในวันพรุ่ง
แม้ตอนนี้ทหารพม่าจะพยายามจะทำให้พวกเขาดูเหมือนหมดเรี่ยวแรงแล้ว แต่พวกเขาจะยังไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ผมเชื่ออย่างนั้น
"The people should not wait for leaders to lead them, everyone should be a leader in their own right. We have to be individually involved and lead. It is important for everyone to lead at this time. The monks have done a lot and many are now thrown into jails and interrogation camps. And many have to sacrifice their lives,"
คำให้สัมภาษณ์ของ Sayadaw (abbot) U Gamira ต่อสื่ออิสระ Mizzima ทำให้ผมมั่นใจการต่อสู้จะยังดำเนินไปทุกวิถีทาง และประชาชนเหล่านั้นจะ "สามัคคีให้ถึงวันพรุ่ง" ได้อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันกระแสพลังใจ การออกมาร่วมเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนในพม่าโดยคนธรรมดาสามัญก็เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่บ่อยนักที่จะเห็นเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศของอินโดนีเชีย ออกมายืนไว้อาลัยและคัดค้านการใช้ความรุนแรงในพม่า (ผมแอบหวังว่า ผมจะเห็นภาพนี้หน้ากระทรวงบัวแก้วของไทยบ้าง) เห็นภาพน้ำตาที่ไหลอาบแก้มของคนพลัดถิ่นจากพม่าในประเทศต่างๆ เห็นแรงพลังของคนหนุ่มสาวจากฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส อิตาลี อังกฤษ และอีกหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย เห็นภาพของพระสงฆ์ และศาสนิกชนต่างๆ ออกมาส่งพลังใจให้เกิดความสงบสุขในพม่า เห็นแววตาที่เปี่ยมด้วยความหวังของเพื่อนแรงงานข้ามชาติของผม และความมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวกับเพื่อนชาวไทยของพวกเขา แม้ผมจะเป็นห่วงพวกเขาแต่ผมก็ไม่กล้าจะห้ามปรามพวกเขา เพราะผมเชื่อมั่นในแววตาอันเปี่ยมหวังนั้น
โทรศัพท์หลายสายที่โทรเข้าโทรศัพท์ผม นั้นเต็มไปด้วยควมกระตือรือร้น "พี่พรุ่งนี้ผมจะพาเพื่อนไปหน้าสถานฑูตนะพี่" "ผม....นะครับ ผมได้เบอร์มาจาก...... นะครับ พรุ่งนี้กลุ่มศิลปินจะไปเล่นดนตรีที่หน้าสถานฑูตนะ ติดต่อประสานงาน.......นะครับ ตอนนี้ผมอยู่ที่เชียงใหม่กำลังจะทำกิจกรรมกันครับ" ภาพของพี่น้องหลายคนที่เคยทำกิจกรรมหลายอย่างร่วมกันมา ทะเลาะกันบ้าง เข้ามาเป็นเรี่ยวแรง เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (หลายคนทำมากกว่าผมเสียอีก)
ผมอยากเข้าไปกอดพวกเขา เพื่อขอบคุณในพลังใจของพวกเขาที่ส่งต่อให้ประชาชนพม่า ทุกคนทำให้ผมเชื่อว่า ผมยังมีความหวังกับการเปลี่ยนแปลงจากคนธรรมดาสามัญอยู่เสมอ
ผมอยากร้องเพลงเก่า ที่หลายคนอาจจะมองว่าเชย ไม่ทันสมัยแล้ว แต่ก็มีพลังสำหรับผมเสนอ
"นี้เป็นการต่อสู้ครั้งสุดท้าย สามัคคีให้ถึงวันพรุ่ง internationale จะต้องปรากฎเป็นจริง"

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

รูปการเดินขบวนพระสงฆ์ในพม่า






ดูรูปภาพชุดนี้เพิ่มได้ที่.........................

http://www.mizzima.com/Foto-2007/Sep/Index.html

http://english.dvb.no/photo1.php

มอง “ความจริง” ผ่านสื่อของรัฐบาลพม่า

Burma Peace Group ฉบับที่ 6
3 ตุลาคม 2550
มอง “ความจริง” ผ่านสื่อของรัฐบาลพม่า



อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้สถานการณ์การชุมนุมประท้วงในประเทศพม่าครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลกเนื่องจากภาพข่าวและข้อมูลต่างๆ สามารถถูกส่งผ่านออกมาจากประเทศพม่าอย่างทันท่วงที แม้ว่ารัฐบาลพม่าจะสั่งปิดร้านอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ ตัดสัญญาณสายส่งอินเตอร์เน็ต แต่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียม เพียงแค่ท้องฟ้าเปิด ข้อมูลข่าวสารและภาพถ่ายก็สามารถส่งผ่านออกมาสู่โลกภายนอกได้ทันที


สิ่งที่น่าตั้งข้อสังเกตก็คือ ขณะที่โลกภายนอกกำลังเฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวในประเทศพม่ากันอย่างลุ้นระทึก แต่ประชาชนในประเทศพม่ากลับกำลังรับรู้ข้อมูลข่าวสารกลับตรงกันข้ามกับสิ่งที่คนภายนอกได้รับรู้ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” เลยก็ว่าได้ เพราะสื่อที่สามารถเผยแพร่ข่าวสารในพม่าได้ในขณะนี้มีเพียงโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลได้เลือกหยิบยก “ความจริง” ในแง่มุมที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนรับรู้ออกมานำเสนอเท่านั้น และดูเหมือนว่า “ความจริง” ชุดนี้จะเป็นชุดที่แตกต่างจากที่ประชาคมโลกรับรู้อย่างสิ้นเชิง


ปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ในพม่าซึ่งเป็นของรัฐบาลมีสองช่อง คือ MRTV 3 และ Myawady TV ในยามปกติ ข่าวสารที่นำเสนอผ่านโทรทัศน์ทั้งสองช่องจะมีเฉพาะข่าวกิจกรรมของผู้นำทหาร กลุ่มแม่บ้านทหาร และสมาคมเอกภาพ หรือ USDA (Union Solidarity Development Association) ซึ่งมีลักษณะคล้ายลูกเสือชาวบ้านของเรา ส่วนข่าวสารที่นำเสนอแบบรายงานข้อเท็จจริง เช่น อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม จะไม่ได้รับการนำเสนอมากนัก หรือถูกนำเสนอเฉพาะบางมุมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลเท่านั้น ส่วนหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นกระบอกเสียงของรัฐบาล คือ หนังสือพิมพ์นิวไลท์ออฟเมียนมาร์จะนำเสนอข่าวสารในทางเดียวกัน คือ ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของทหาร และโจมตีพรรคฝ่ายค้านและผู้เรียกร้องประชาธิปไตย


นับตั้งแต่รัฐบาลพม่าประกาศขึ้นราคาน้ำมันแบบพรวดพราดชั่วข้ามคืนเมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา สิ่งที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อของรัฐกลับไม่ได้เป็นภาพความเดือดร้อนของประชาชนที่ต้องเผชิญกับข้าวยากหมากแพง และเมื่อพระสงฆ์เริ่มออกมาเดินขบวนประท้วง โดยเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่รัฐอาระกัน ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับบังคลาเทศ รัฐบาลกลับโจมตีกลุ่มพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นพระปลอมและมีเพียงสองสามรูปเท่านั้นที่ออกมาชุมนุมประท้วง


ผลจากการโจมตีผ่านสื่อของรัฐดังกล่าวทำให้บรรดาพระภิกษุและประชาชนเริ่มไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น จนนำไปสู่การชุมนุมของพระภิกษุหลายเมือง โดยเฉพาะเมืองปะโค๊ะกู ซึ่งเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยสงฆ์ และมีพระภิกษุและสามเณรนับหมื่นรูปอาศัยอยู่ที่เมืองแห่งนี้ หลังจากเจ้าหน้าที่รัฐได้จับตัวพระภิกษุสามรูปซึ่งรวมชุมนุมประท้วงไปทรมานเมื่อวันที่ 5 กันยายน บรรดาพระภิกษุจึงเริ่มไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้นและเรียกร้องให้รัฐบาลขอขมา แต่รัฐบาลกลับปฏิเสธผ่านสื่อของรัฐ และจับกุมพระภิกษุที่ได้รับบาดเจ็บเข้าคุกในวันรุ่งขึ้นทันที


สิ่งที่รัฐบาลโจมตีพระภิกษุผ่านสื่อได้สร้างกระแสความไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ และเมื่อพระภิกษุและแม่ชีเริ่มออกมาชุมนุมทั่วกรุงย่างกุ้ง มัณฑเลย์ และอีกหลายเมืองใหญ่ จนเต็มท้องถนน ภาพข่าวที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อของรัฐกลับตรงกันข้ามกับภาพที่ประชาคมโลกเห็น นั่นคือ ภาพของพระภิกษุและแม่ชีกำลังทำวัตรอยู่ในวิหารอย่างสงบ โดยรัฐบาลพยายามโจมตีกลุ่มพระภิกษุที่ชุมนุมอยู่บนถนนว่าเป็นพระปลอม ไม่ได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์เหมือนกับภาพพระภิกษุที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อของรัฐ


และเมื่อวันที่ 24 กันยายนก่อนการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุม นายทุระมิ้นหม่อง รัฐมนตรีกระทรวงศาสนาของพม่าได้ประกาศทางสถานีโทรทัศน์ MRTV ให้กลุ่มของพระภิกษุยุติการประท้วงโดยด่วน มิเช่นนั้นจะถูกลงโทษ นอกจากนี้ได้กล่าวโจมตีว่าการประท้วงเป็นการกระทำที่ผิดหลักศาสนา โดยกล่าวว่าพระภิกษุที่ออกมาประท้วงมีเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ของพระภิกษุทั่วประเทศ หลังจากข่าวออกเผยแพร่ได้เพียง 1 ชั่วโมง บรรดาพระภิกษุและกลุ่มผู้ประท้วงต่างพากันออกมาชุมนุมเพิ่มขึ้นเป็นสองแสนคนในชั่วพริบตา และภาพผู้คนเรือนแสนก็ได้ถูกส่งผ่านออกมาให้ประชาคมโลกได้เห็นกับตาตนเอง ขณะที่สื่อของรัฐยังคงนำเสนอเฉพาะภาพพระภิกษุทำวัตรอยู่เช่นเดิม


หลังจากการปราบประชาชนเมื่อวันที่ 26 กันยายน โดยรัฐบาบใช้แก๊สน้ำตา กระบอง ตามด้วยกระสุนปืนปราบปรามประชาชนจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งช่างภาพชาวญี่ปุ่น สิ่งที่รัฐบาลประกาศผ่านสื่อของตนกลับเป็นเพียงตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่ถึง 10 คน และเหตุผลที่ช่างภาพญี่ปุ่นเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุชุลมุน ขณะภาพที่ประชาคมโลกได้เห็นกับตา คือ ภาพของทหารพม่าจ่อยิงช่างภาพญี่ปุ่นระยะเผาขน รวมทั้งภาพของผู้เสียชีวิตจำนวนมากกว่าตัวเลขของรัฐบาล โดยเฉพาะภาพพระภิกษุมรณภาพและถูกโยนร่างไร้วิญญาณทิ้งลงในคูน้ำ


จนถึงวันนี้ รัฐบาลพม่ายังคงหยิบยก “ความจริง” คนละชุดกับที่ประชาคมโลกรับรู้นำเสนอผ่านสื่อของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลพม่าดูเหมือนจะลืมไปว่า ด้วยเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารของโลกยุคใหม่ รัฐบาลพม่าไม่สามารถปกปิด “ข้อเท็จจริง” ที่เกิดขึ้นในประเทศของตนเองได้เหมือนเช่นในอดีตอีกต่อไปแล้ว สิ่งที่รัฐบาลพม่ากำลังทำจึงดูเหมือนเป็นการ “หลอกตนเองและประชาชน” ให้หลงอยู่ในโลกสมมติภายใต้จอภาพโทรทัศน์เพียงสองช่องที่รัฐบาลสามารถควบคุมได้ โดยที่หารู้ไม่ว่า คนทั่วโลกกำลังเฝ้าดู “ความจริง” อีกชุดหนึ่งที่แตกต่างไปจากสื่อของรัฐบาลพม่า เป็น “ความจริง” ที่มีข้อเท็จจริงและหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยสายตาของทุกคน

สื่อสมัยใหม่กับบทบาทการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า

Burma Peace Group ฉบับที่ 5
2 ตุลาคม 2550
สื่อสมัยใหม่กับบทบาทการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า


ตั้งแต่เริ่มการชุมนุมใหญ่ของพระสงฆ์และประชาชนชาวพม่าตลอดสองอาทิตย์ที่ผ่านมา เราได้เห็นภาพและวีดีโอ ที่สร้างความรู้สึกตื้นตันใจที่เห็นพลังของพระสงฆ์และประชาชนออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย และสะเทือนใจกับภาพความโหดเหี้ยมของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ป่าเถื่อนที่เข่นฆ่าพระและประชาชน โดยไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติไหน


ภาพเหล่านี้ได้ถูกเผยแพร่ทั้งสำนักข่าวระดับโลก อาทิ BBC CNN และสำนักข่าวภายในประเทศต่างๆ แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของภาพนั้นส่วนใหญ่คือเหล่า Bloger ทั้งภายนอกและภายในประเทศพม่า โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ท่ามกลางเหตุการณ์การประท้วง ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวภาคประชาชน ส่งภาพและข้อมูลออกมาโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลเผด็จการทหารพม่านั้นควบคุมสื่อมวลชน และการสื่อสารภายในประเทศทั้งหมดเรียกได้ว่า พม่าเกือบจะเป็นประเทศสุดท้ายของโลกที่เชื่อมตัวเองเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แม้ว่าสื่อมวลชนภายนอกพม่า ยกเว้นจีน จะเผยแพร่และให้ความสำคัญกับเหตุการณ์การณ์เรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า แต่สื่อมวลชนของพม่าที่ควบคุมโดยรัฐบาลเผด็จการทหาร แทบจะไม่มีข่าวการประท้วงในประเทศตัวเองเลย ซ้ำยังเป็นกระบอกเสียงของเผด็จการโจมตีสื่อต่างประเทศว่าบิดเบือนข่าว และออกข่าวใส่ร้ายแกนนำผู้ชุมนุมและพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งการกระทำดังกล่าวของสื่อมวลชนภายใต้รัฐบาลเผด็จการพม่า มิใช่เป็นเรื่องเหนือความคาดหมายแต่อย่างใดเพราะสำนักข่าวของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้ใช้วิธีการเช่นนี้มาตลอดในทุกครั้งที่มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมือง


ดังนั้นจึงเกิดสำนักข่าวทางเลือกของพม่า ที่ดำเนินการโดยสื่อมวลชน นักศึกษา และนักกิจกรรม ขึ้นมากมาย ตั้งแต่ยุคก่อนที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะเฟื่องฟูด้วยซ้ำ และเมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแพร่ขยาย และประชาชนเข้าถึงได้มากขึ้นจึงเกิดเว็บไซต์ของสำนักข่าวทางเลือกเหล่านี้ อาทิ freeburma.org, irrawaddy.org หรือ mizzima.com เป็นต้น ที่นำเสนอเรื่องราวข้อเท็จจริงในแผ่นดินพม่า และเมื่อเผด็จการทหารพม่าไม่อาจต้านทางกระแสของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ได้ โดยยอมให้เกิดร้านอินเทอร์เน็ตขึ้นในร่างกุ้งและตามเมืองใหญ่ต่างๆ จากนั้น เว็บไซต์ อีเมล์ โทรศัพท์มือถือ และกล้องดิจิตอลจึงเป็นที่แพร่หลายของประชาชนคนชั้นกลางในเมืองใหญ่ต่างๆ ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์การชุมนุมครั้งใหญ่ประชาชนหรือแม้แต่พระสงฆ์ ที่เข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้จึงทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวภาคประชาชน นำเสนอภาพความป่าเถื่อนที่เป็นจริงในประเทศที่แนวชายแดนห่างจากกรุงเทพเพียง 150 กิโลเมตร


แม้ว่าปรากฏการณ์ Bloger จะเกิดขึ้นอีกครั้งในเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่า แต่ก็เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ เพราะรัฐบาลเผด็จการได้ปิดการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตทั้งหมด และ โทรศัพท์มือถือบางเครือข่าย จึงทำให้หลังจากวันที่ 27 กันยายน เป็นต้นมาจึงไม่ค่อยมีภาพหรือวีดีโอ ส่งมาจากในประเทศพม่ามากนัก รายงานจากผู้สื่อข่าวของเว็บไซต์สำนักข่าวบีบีซี ได้สัมภาษณ์ Bloger ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ในลอนดอนว่า เค้าไม่ได้รับข้อมูลที่ส่งผ่านเพื่อนของเขาในพม่าเลย รัฐบาลพม่าตัดการการสื่อสารเกือบทุกอย่าง ที่อาจทำได้คือการใช้โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม ซึ่งก็มีบทลงโทษรุนแรงมากในพม่าคือจำคุกถึงสามปีครึ่ง อย่างไรก็ตามเว็บบล็อกที่ดำเนินการโดย Bloger ชาวพม่าที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศ ก็พยายามอัปเดตข่าวและเหตุการณ์ รวมทั้งระดมความช่วยเหลือพระสงฆ์ และ พี่น้องประชาชนที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศพม่าในขณะนี้ เว็บบล็อกที่มีข่าวสารเหตุกาณ์ในพม่าที่ได้รับความนิยม


อาทิ ko-htike.blogspot.com หรือ mmedwatch.blogspot.com โดยเว็บบล็อกทั้งสองนำข่าวเหตุการณ์เป็นรายชั่วโมงก็ว่าได้ นอกจากนั้นยังมีภาพและวีดีโอ และลิ้งค์เชื่อมโยงไปยังเว็บบล็อกอื่นๆ ที่น่าสนใจคือเว็บบล็อกเหล่านี้ เป็นช่องทางให้ประชาชนทั้งชาวพม่าเองที่อยู่ในที่ต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศได้สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและกันตลอดเวลา รวมทั้งเป็นเวทีที่ให้ประชาชนได้แสดงออกทางการเมือง โดยที่รัฐบาลเผด็จการพม่าไม่อาจควบคุมได้ทั้งหมด


ขณะที่ข่าวเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยของพระสงฆ์และประชาชนในเมืองต่างๆ การกระทำอันป่าเถื่อนของรัฐบาลเผด็จการทหาร และความสูญเสีย รวมทั้งข่าวการเคลื่อนไหวของประชาชนหน้าสถานฑูตพม่าในประเทศต่างๆ ยังได้รับความสำคัญจากสื่อมวลชนอยู่ แต่หากวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวมแล้ว จะเห็นว่าเหตุการณ์ในพม่าจะเพิ่มความรุนแรงและขยายระยะเวลายาวนานต่อไป โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มผนึกกำลังกันต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการพม่า บทบาทของอาเซียน และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะในส่วนของจีนกับรัสเซียที่มีต่อสถานการณ์ในพม่า กระทั่งการอพยพข้ามพรมแดนครั้งใหญ่ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง ยังเป็นเรื่องที่สื่อมวลชนยังต้องจับตามอง เพื่อสะท้อนภาพความเป็นจริงให้กับประชาคมโลก หาทางกดดัน หรือ จัดการอย่างใดอย่างหนึ่งให้รัฐบาลเผด็จการทหารที่ป่าเถื่อนนี้หมดอำนาจไป และเป็นกำลังใจให้กับประชาชนชาวพม่าที่ต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพจากความป่าเถื่อนที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของตัวเอง

บันทึกปีที่สิบเก้า

Burma Peace Group ฉบับที่ 4
2 ตุลาคม 2550
บันทึกปีที่สิบเก้า


1. 24 กันยายน ในหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงแถบชายแดนที่สงบเงียบ ข่าวสารเดินทางมาถึงพวกเราว่า ภิกษุสงฆ์ แม่ชี และประชาชนชาวพม่านับหลายหมื่นกำลังเดินเท้าท่ามกลางสายฝนอยู่กลางกรุงย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และอาจจะอีกหลายแห่งหลายเมืองที่เราไม่อาจรับรู้


เราได้กลิ่นคาวเลือดนับแต่วินาทีนั้น แต่เรากลับเงียบงัน สงบนิ่ง อย่างประหลาด จนดูเผินๆเหมือนกับไม่มีใครใส่ใจ


วันต่อๆมา แล้วกระบองก็ถูกฟาด กระสุนนัดแรกของ “รอบนี้” ก็ถูกยิงออกจากปากกระบอกปืน เรานิ่งฟังข่าวอย่างตั้งใจ ทว่าสีหน้าของผู้รับรู้แต่ละคนก็นิ่งเฉยจนเหมือนเย็นชา


จนเราอดสงสัยตัวเองกันไม่ได้


2. สำรวจความคิดกันเอง พวกเราไม่ได้เพิกเฉย ทั้งคนไทย เพื่อนชาวกะเหรี่ยงจากค่ายผู้ลี้ภัย จากเขตคุ้มครองของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) ที่เป็นกองกำลังต่อต้านเผด็จการพม่าที่ใหญ่ที่สุด และจากเขตกองกำลังกะเหรี่ยงพุทธ (ดีเคบีเอ) ที่หันไปจับมือตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลทหารแล้ว ไม่ได้มองว่าการเคลื่อนตัวของคนนับหมื่นในประเทศเป็นเรื่องปกติสามัญ แต่.. บางที.. มันอาจเป็นสิ่งที่เราใช้เวลานานถึง 19 ปีแอบเฝ้าคาดหวัง ในขณะที่ก็เฝ้าหวาดหวั่นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว


เส้นทางนี้ไม่ได้ยาวเพียงกว่าเดือนนับจากวันที่รัฐบาลประกาศขึ้นราคาน้ำมัน หรือวันที่เจ้าหน้าที่บุกเข้าทำร้ายพระสงฆ์ในวัด แต่เป็นเส้นทางสิบเก้าปี หรือสำหรับใครบางคนอาจจะนานถึง 45 ปี นับจากวันที่นายพลเนวินยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงพม่าเข้าสู่ความมืดมน


และเส้นทางนี้ก็ไม่ได้มีแต่ประชาชนพม่าในเมืองใหญ่ที่ร่วมก้าวเดิน ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผู้พลัดถิ่นในประเทศนับแสนได้ต่อต้านอำนาจกดขี่อยู่อย่างเงียบเชียบด้วยวิถีของตัว นั่นคือ ยอมร่อนเร่พลัดถิ่นฐาน แต่ไม่ยอมทิ้งแผ่นดินแม้จะถูกไล่ล่า


เราเชื่อ เรารู้อยู่แก่ใจว่า เมื่อถึงวันหนึ่ง ประชาชนพม่าที่พยายามก้มหน้าอดทนเพื่อความอยู่รอดในภาวะถูกกดขี่ จะต้องลุกขึ้นก้าวพ้นจากกรอบกรงแห่งความหวาดกลัวที่รัฐบาลทหารเพียรสร้างมาตลอด เราไม่รู้ว่ามันจะเป็นวันไหน แต่เราก็รู้ว่า เมื่อวันนั้นมาถึง เลือดจะนองแผ่นดินอีกครั้ง


ที่สำคัญ เราไม่อาจจะเจ็บปวดคั่งแค้นไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เพราะความรุนแรงเหี้ยมโหดที่มนุษย์ทำต่อมนุษย์ด้วยกัน ไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นในวันนี้สำหรับพี่น้องชาวกะเหรี่ยงที่ต้องอพยพลี้ภัยมาอยู่ริมขอบแดน การเข่นฆ่าประหัตประหารอย่างเหี้ยมโหด การเผาทำลายข้าวเม็ดสุดท้ายและบ้านเรือน การข่มขืน การทรมาน ดำเนินอยู่ใกล้ตัวกับญาติพี่น้องและคนใกล้ชิด ไม่รู้จบไม่รู้สิ้น จนดูเหมือนว่าโลกไม่อยากจะรับฟัง และผู้ถูกกระทำไม่อยากจะร้องไห้อีกต่อไป


เราต่างสับสนไม่แพ้กัน มันเป็นความรู้สึกที่แปลกประหลาด หัวใจเราเต้นแรงด้วยความตื่นเต้น แต่เราก็โกรธตัวเองที่แอบยินดีกับการลุกขึ้นสู้ เพราะรู้อยู่ว่ามันจะต้องแลกมาด้วยเลือดเนื้อ เรารู้สึกมีความหวัง แต่ก็สิ้นหวังไปพร้อมๆกัน เราเจ็บปวดกับความโหดเหี้ยมและการสูญเสียที่ย่างกุ้ง แต่เราก็ไม่อาจคร่ำครวญได้มากนัก เพราะเราคร่ำครวญมามากเกินไปแล้วกับเหตุการณ์แถบชายแดน โดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศพม่า ดินแดนกลุ่มชาติพันธุ์


3. ร่ำลือกันว่า ภายในช่วงไม่กี่วันนี้ มีชาวกะเหรี่ยงมุ่งหน้ามาหาญาติพี่น้องในค่ายผู้ลี้ภัยฝั่งประเทศไทยอยู่ไม่น้อย พวกเขาได้กลิ่นคาวเลือดโชยมาแต่ไกล ช่องว่างแห่งความปลอดภัยเล็กๆที่เคยพอมีอาจถูกปิดในเร็ววัน ด้วยไม่รู้ว่ากองกำลังกะเหรี่ยงพุทธจะตัดสินใจประกาศจุดยืนอย่างไร ... จะเดินทางไปสมทบตามคำสั่งของรัฐบาลทหารพม่า .. หรือว่าจะแสดงตนชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการฆ่าฟันผู้คนโดยเฉพาะพระสงฆ์ และไม่ว่าจะเป็นอย่างไร นั่นอาจคือความเปลี่ยนแปลงที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะนำไปสู่ความรุนแรง


ทั้งผู้ลี้ภัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะเรนนีประมาณหนึ่งแสนห้าหมื่นคนในค่ายผู้ลี้ภัยเก้าแห่งใน 4 จังหวัดของไทย ผู้ลี้ภัยนอกค่ายที่กระจัดกระจายอยู่ในหมู่บ้านชายแดนและเขตเมืองรวมทั้งชาวไทใหญ่ริมแม่ฟ้าหลวงและฝางที่ประมาณจำนวนไม่ได้ และแรงงานอพยพจากประเทศพม่าอีกนับล้าน ต่างเดินทางมาที่นี่ด้วยสาเหตุเดียวกันกับสาเหตุการตาย ทารุณกรรม จับกุม และการลุกขึ้นเดินแสดงออกเจตนารมณ์อย่างสันติในพม่าขณะนี้


ปีนี้ รัฐบาลไทยและองค์การระหว่างประเทศตั้งเป้าการส่งผู้ลี้ภัยให้โยกย้ายไปประเทศที่สามหรือต่างประเทศ 15,000 คน และอีกจำนวนเท่าๆกันในปีหน้า สภาพชีวิตผู้ลี้ภัยที่ถูกจำกัดเสรีภาพกระทั่งถึงกัดกร่อนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และข้อมูลที่ไหลเวียนสับสนในรั้วล้อมค่าย ไม่ว่าจะเป็นกระแสเสียงปากต่อปากบอกถึงความสิ้นหวังที่จะได้กลับบ้านในเวลาอันใกล้ รวมไปจนถึงข่าวลือว่ารัฐบาลไทยจะไม่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้อีกต่อไป กระตุ้นให้ผู้คนแสดงความจำนงสมัครไปต่างแดนกันมากขึ้น


ข่าวเหตุการณ์ประท้วงเผด็จการและการนองเลือดในกรุงย่างกุ้ง ค่อยๆกระจายไปทั่วค่าย เพื่อนของเราบางคนบอกว่า คนรอบข้างของเขายิ่งรู้สึกไม่ปลอดภัยและสิ้นหวังจนอยากเร่งไปต่างประเทศให้เร็วขึ้น แต่บางคนก็กลับเกิดอาการลังเล เพราะบางที... บางที... “เราอาจจะไม่จำเป็นต้องไป”


จากหมู่บ้านริมขอบแดน ข่าวสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เพื่อนจากเขตดีเคบีเอเดินทางกลับไปอย่างเร่งด่วน ส่วนเพื่อนจากเขตเคเอ็นยูก็บอกว่า เขาหวังว่า “บางที.. บางที... ดีเคบีเอจะทบทวนทางเดินของตัวเองว่าจะเดินอยู่เคียงข้างใคร บางที เหตุการณ์ครั้งนี้ อาจทำให้พี่น้องดีเคบีเอและเคเอ็นยู – ที่บางคนก็ร่วมสายเลือดพ่อแม่เดียวกัน ได้กลับมาร่วมกินข้าวหม้อเดียวกันอีกครั้ง”


4. ค่ายผู้ลี้ภัยแบเกลาะหรือแม่หละมีประชากรผู้ลี้ภัยมากที่สุด คือกว่าสี่หมื่นคน เมื่อวันที่ 28 กันยายน ผู้คนไม่ถึงหลักสิบมานั่งดูภาพข่าวเหตุการณ์ในย่างกุ้งที่วัด และแล้วจำนวนก็ทะยอยพิ่มขึ้นจนเป็นหลักร้อย ถึงราว 300 โดยไม่ได้นัดหมาย


พระสงฆ์และผู้ลี้ภัยหลายร้อยคน ทั้งชาวพม่า กะเหรี่ยงสะกอ โปว์ และกลุ่มคนมุสลิม ร่วมกันออกเดินจากวัดไปยังสนามหญ้าใหญ่ เพื่อแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของตนอย่างสันติ พวกเขากู่ร้อง “เราต้องการประชาธิปไตย” “เผด็จการทหารพม่าจงออกไป” “ปล่อยอองซานซูจีและนักโทษการเมือง” และ “ขอสันติสุขและมิตรภาพแด่ทุกคน” ตามเส้นทางที่พวกเขาผ่าน ผู้ลี้ภัยบางคนค่อยๆก้าวออกจากกระท่อมพักออกร่วมเดินทาง แม้บางคนจะยืนมองด้วยความหวาดหวั่น เพราะบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวที่นี่ คือข้อห้ามที่ว่า “ถ้าอยู่เมืองไทย ก็ต้องสงบเสงี่ยมไม่มีปากเสียง” ข่าวลือแพร่สะพัดว่าทางการไทยจะจับกุมหากชุมนุมเกิน 5 คน แต่แล้วก็เป็นเพียงแค่ข่าวลือ ยังดีที่รัฐไทยไม่ขลาดเขลา และน่าจะดียิ่งกว่านั้น หากเราจะไม่คืนคำที่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยได้ใช้เสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ของตนได้


“เราไม่ได้ทำให้คนไทยเดือดร้อน เราเพียงแต่อยากแสดงความรู้สึกต่อการที่พี่น้องของเราถูกกระทำ เราอยากบอกว่า ถึงเราจะลี้ภัยมาอยู่เมืองไทย เราก็สนับสนุนพวกเขา เขาทำอย่างไรกับคนที่นั่น เราก็เจ็บเหมือนกัน” หนึ่งในแกนนำการเดินขบวนแจ้งกับเจ้าหน้าที่ไทยที่มาดูเหตุการณ์ พวกเขาจบขบวนด้วยการภาวนาตามวิถีพุทธ คริสต์ และอิสลาม ตามแต่ความเชื่อของสหายร่วมขบวน


หญิงชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่ร่วมขบวนบอกว่า นางพร้อมที่จะร่วมลุกขึ้นส่งใจให้กับ “ประชาชนพม่า” ที่ร่วมต่อต้านความโหดร้าย ป่าเถื่อน และการบีบบังคับ หลายๆคนก็บอกเราอย่างนั้น “ประชาชนพม่า... ประชาชนพม่า” ช่างเป็นคำที่น่าประทับใจ เราไม่ได้ยินคำนี้จากปากผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงมาแสนนานแล้ว เมื่อใดที่เอ่ยถึงผู้กดขี่ เพื่อนมักใช้คำว่า “พม่า” อยู่เสมอ จนคำว่า “พม่า” ในความรับรู้ แทบจะคือคำแทนคำว่า “ศัตรู” หรือ “ผู้ร้าย”


แล้ววันนี้เอง ที่พวกเขาหลายต่อหลายคน หันกลับมาเอ่ยถึงอย่างเฉพาะเจาะจง ระหว่าง “ประชาชนพม่า” และ “ทหารพม่า” หรือ “รัฐบาลพม่า” และเป็นหนึ่งในไม่กี่วัน ที่คนหลากหลายเชื้อชาติศาสนาซึ่งเคยมีความขัดแย้งจุกจิกในชีวิตประจำวันอยู่เนืองนิตย์ ร่วมเดินบนเส้นทางเดียวกันอย่างชัดเจน


หน้าจอโทรทัศน์บนวัดวันนั้น มีเพื่อนชาวกะเหรี่ยงบางคนน้ำตาไหลให้กับ “ประชาชนพม่า” มันอาจจะไม่ใช่น้ำตาจากความเศร้าโศกคั่งแค้นอย่างที่บอกไว้ เพราะพวกเขาเจ็บปวดจนไม่อาจร้องไห้ให้กับความตายและการทารุณกรรมอีกต่อไป แต่เขาบอกว่า มันเป็นน้ำตาแห่งความตื้นตัน เป็นน้ำตาแห่งความหวัง แม้ข่าวคราวจะบอกว่ากองทัพพม่าควบคุมถนนย่างกุ้งให้รกร้างว่างเปล่าได้แล้ว


บางที ในความเจ็บปวด อาจมีความหวังอย่างหนึ่ง เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง ที่ทรงคุณค่าไม่น้อยไปกว่าความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์การเมือง


5. ข่าวโทรทัศน์ที่เราได้มีโอกาสเห็นในช่วงสั้นๆเป็นครั้งแรก เป็นภาพของผู้เล่าข่าวหญิงที่แสดงทีท่าเป็นห่วงเป็นใยว่า “แล้วถ้ามีคนจะหนีมาชายแดนไทย เราจะมีวีธีป้องกันดูแลชายแดนอย่างไร หวังว่ากองทัพภาคที่สามคงจะมีแผนการเรียบร้อยแล้ว”


นี่หรือคือปฏิกิริยาแรกที่คนไทยควรจะมี เมื่อได้ยินข่าวการเข่นฆ่า .. ?


ยังดี ที่นายกฯของเราอยู่ในที่ประชุมสหประชาชาติ อันเป็นสถานที่ที่จำต้องประกาศจุดยืนอย่างศิวิไลซ์ จึงมีข่าวในวันต่อมาว่า รัฐบาลไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ผู้ที่หลบหนีการปราบปรามครั้งนี้
สิบเก้าปีแล้วไม่ใช่หรือ ที่ผู้คนอพยพหลั่งไหลมายังประเทศไทยไม่ขาดสาย แล้วเราก็แก้ปัญหาด้วยการรับผู้ลี้ภัยไว้ในค่ายที่ล้อมรั้วเสรีภาพ และส่งเสริมจนถึงหว่านล้อมให้พวกเขาออกไปประเทศที่สามให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้? เราแก้ปัญหาด้วยการผลักดันผู้ลี้ภัยชาวมอญให้กลับไปตั้งค่ายอพยพในเขตมอญ โดยคงสภาพเป็นคนอพยพที่ไม่สามารถทำมาหากินได้ตามปกติ เราจับกุมส่งกลับแรงงานอพยพซ้ำแล้วซ้ำอีก และเมื่อไม่นานมานี้ เราก็ผลักดันชาวกะเหรี่ยงที่หนีภัยเข้ามาทางแถบแม่สะเรียงให้กลับไปตั้งค่ายอพยพอยู่ในเขตประเทศพม่า และแผนการผลักดันผู้ลี้ภัยใหม่ก็ยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง


นโยบายนานาของรัฐไทยที่ล้วนมีชื่อเก๋ๆ นั้นแปลได้ว่าเป็นการดำเนินความสัมพันธ์ที่ไม่แทรกแซงการเมืองที่ชั่วร้าย แต่คบหา – และหาประโยชน์กันทางเศรษฐกิจได้ เราร่วมลงทุนโครงการท่อก๊าซไทย-พม่า ที่ส่งผลให้เกิดการกวาดล้างชาวกะเหรี่ยงนับหมื่นที่เข้ามาเป็นผู้ลี้ภัยในราชบุรี-กาญจนบุรี เราส่งเสริมโครงการการเกษตรหลายรูปแบบรวมทั้งไร่ละหุ่ง ที่นำมาซึ่งการยึดที่ดินทำกินและขูดรีดภาษี เราเร่งโครงการร่วมไทย-พม่าสร้างเขื่อนสาละวิน ซึ่งกำลังผลักผู้คนอีกประมาณจำนวนแทบไม่ได้ ให้ต้องพลัดถิ่นฐานและล้มตายอย่างทารุณ เราร่วมมือทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลทหารพม่า ทั้งที่รู้อยู่ว่าเม็ดเงินจะไม่ตกมาถึงประชาชน หากมีแต่ไปเสริมพลังอาวุธของกองทัพ


เราอาจจะเหน็ดเหนื่อยจนคิดไม่ออก ว่าจะมีอะไรที่เราและใครอีกมากมายไม่เคยได้พูด ประณาม เรียกร้อง กระทั่งวิงวอน – สำหรับบางคน ต่อรัฐบาลพม่าอีกหรือไม่ ทว่ากับรัฐบาลไทย มีคำถามเพียงว่า เมื่อถึงบัดนี้แล้ว รัฐไทยจะยังยืนยันอีกหรือว่าเราเดินมาถูกทาง และกล้ายืนยันหรือไม่ว่าเราไม่ใช่ส่วนหนึ่งในการก่อความรุนแรงทั้งทางตรงและเชิงโครงสร้างในประเทศพม่า?


ไม่มีใครบอกว่าเป็นเรื่องง่าย สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเผด็จการที่เหี้ยมโหดซ้ำยังมีชายแดนติดกันเป็นระยะทางยาว แต่เราจะยอมทบทวนบทบาทของตัวเองใหม่กันหรือยัง หลังจากที่ข้อเท็จจริงบอกซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า เราเดินมาผิดทาง ?


กับผู้ลี้ภัย ล่าสุดรัฐบาลไทยยังวางแผนจะผลักดันคนที่เข้ามาหลังการทำทะเบียนของมหาดไทย/ยูเอ็นเอชซีอาร์ราวสี่พันคน ไปยังหมู่บ้านคนพลัดถิ่นในเขตรัฐกะเหรี่ยง ทั้งที่ในสถานที่แคบๆนั้น ประชากรพลัดถิ่นเพียงราว 600 คนยังไม่สามารถทำกินเลี้ยงตัวเองได้พอเพียง ด้วยติดกับระเบิด กองทัพดีเคบีเอ กับกองทหารพม่าอยู่รอบข้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา การสู้รบก็ดำเนินเข้าใกล้จนผู้คนเริ่มตระเตรียมโยกย้าย


หากท่านไม่ได้ยินเสียงร่ำร้องของผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่นในรัฐกะเหรี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ ท่านได้ยินเสียงของผู้หาญกล้าในย่างกุ้งบ้างหรือไม่ ? แล้วประชาชนไทยเล่า วันนี้ เราหันมามองเห็น “พม่า” กันอีกครั้ง จะเป็นความคิดที่ลมๆแล้งๆเกินไปไหม ที่จะหวังว่า สายตาของเราจะจับจ้องพม่าเลยจากย่างกุ้งไปให้ถึงทั่วทั้งแผ่นดิน และจับจ้องไม่มีวางตา เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้จบเพียงการปราบปรามในวันนี้


อย่าเลย อย่าให้มันเป็นข่าวระทึกขวัญ ที่ไม่กี่วันก็วูบจางหาย กลิ่นคาวเลือดยังคงโชยมาถึงเรา ทุกวัน เราทำอะไรกันได้มากกว่าที่เป็นอยู่บ้างหรือเปล่า

บทบาทและความสัมพันธ์ของอาเซียนต่อพม่า

Burma Peace Group ฉบับที่ 2
28 กันยายน 2550
บทบาทและความสัมพันธ์ของอาเซียนต่อพม่า

28 กันยายน 2550 นายกรัฐมนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ กล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียนที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ในพม่าพร้อมประณามการใช้ความรุนแรง ว่าเป็นวิธีการที่น่ารังเกียจ เรียกร้องพม่ายุติใช้ความรุนแรง แก้ปัญหาโดยวิธีสมานฉันท์ อาเซียนได้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า และได้รับรายงานการใช้อาวุธและขอให้รัฐบาลพม่ายุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วงโดยทันที อาเซียนแสดงความรังเกียจต่อรายงานที่กล่าวถึงว่าการประท้วงได้รับการกดดันโดยการใช้ความรุนแรงและมีผู้เสียชิวิตอาเซียนขอให้พม่าใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุดและหาแนวทางทางการเมือเพื่อแก้ปัญหา รวมถึงใช้ความพยายามเพื่อความสมานฉันท์ของชาติ นอกจากนี้ได้เรียกร้องให้ปลดปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมรวมถึงอองซาน ซู จี ด้วย


อาเซียนสนับสนุนการตัดสินใจของเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คี มุน ในการส่งผู้แทนพิเศษ Ibrahim Gambari ไปพม่า และขอให้รัฐบาลพม่าให้ความร่วมมือกับผู้แทนพิเศษและทำงานร่วมกัน ทั้งนี้บทบาทของนาย Gambari ในฐานะเป็นผู้ประสานงานที่เป็นกลาง สามารถช่วยแก้ปัญหาสถานการณ์ที่เลวร้ายได้ อาเซียนขอให้พม่าเปิดทางให้ผู้แทนพิเศษได้พบกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในพม่า ตามที่เคยปฏิบัติในอดีต


สำหรับประเทศไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกันมากกว่า 2,400 กิโลเมตร และมีชาวพม่ากว่าหนึ่งล้านคนพำนักอยู่ มีความกังวลอย่างยิ่งกับสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นในพม่าทั้งไทยและพม่า ต่างเป็นประเทศพุทธศาสนา ต่างมีความเชื่อร่วมกันในความสงบและความอดกลั้น ดังนั้นไทยจึงไม่สามารถยอมรับการใช้ความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายต่อพระสงฆ์และผู้ประท้วงในร่างกุ้ง


ในระยะเวลาที่ผ่านมาแนวนโยบายต่างประเทศที่มีรูปแบบเนื้อหา"การเมืองเพื่อการค้า"ของอาเซียนที่ให้ความสำคัญกับมิติทางด้านเศรษฐกิจมากกว่าทำให้รัฐบาลเผด็จการทหารพม่าได้รับการสนับสนุนเห็นใจ ได้รับการปกป้องจากอาเซียนมาโดยตลอด จนในที่สุดนำไปสู่การรับประเทศพม่าเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2540 อานิสงค์สำคัญหลังจากที่พม่าเข้ามาอยู่ในอาเซียน ภาพลักษณ์ของพม่าในสายตาประชาคมโลกได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาพม่าได้ตักตวงผลประโยชน์ในทุกด้านจากการเป็นสมาชิกภาพของ อาเซียน พม่าได้ใช้อาเซียนเป็นเกราะกำบังและเป็นกันชนให้กับพม่าในการดำเนินความสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยพม่าได้ทำให้ปัญหาที่พม่ามีกับประชาคมโลกกลายเป็นปัญหาของอาเซียนโดยส่วนรวมมากกว่าปัญหาของพม่าโดยตรง ทำให้ประเทศอาเซียนอื่นๆอยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา


นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นปีที่พม่าได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมอาเซียน พม่าได้สร้างปัญหาให้กับสมาคมอาเซียนมากกว่าสมัยที่ยังมิได้เข้ามาเป็นสมาชิก ส่งผลทำให้ความน่าเชื่อถือของอาเซียนตกต่ำอย่างเห็นได้ชัด ทั้งการกักขังนางอองซานซูจี การคุมขังนักโทษการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆอย่างร้ายแรง แต่ที่ผ่านมาอาเซียนก็ยังยึดหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของพม่ามาโดยตลอด เหตุที่อาเซียนมีท่าทีอย่างนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากนโยบายต่างประเทศของไทยที่ไม่ได้เป็นแกนนำในการเรียกร้องต่อรัฐบาลทหารพม่า แต่รัฐบาลไทยกลับทำตัวไปสนับสนุนรัฐบาลพม่าแทน ตรงนี้เองที่ทำให้นักการเมืองในมาเลเซีย สิงค์โปร์ ต้องกลายมาเป็นทัพหน้าแทน ดูได้จากในระยะหลังที่สมาชิกบางประเทศเริ่มแสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวอย่างเปิดเผยยิ่งขึ้น เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ต่างได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะชะงักงัน ไม่คืบหน้าของกระบวนการประชาธิปไตย และการปรองดองแห่งชาติในพม่า ตลอดจนสถานะถดถอยของความสัมพันธ์ในด้านต่างๆระหว่างสมาคมอาเซียนกับกลุ่มประเทศคู่เจรจาที่สำคัญๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป พร้อมกับเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนพิจารณาประเด็นเรื่องผลกระทบร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประเทศคู่เจรจา


หากไม่ปรากฏความคืบหน้าในเรื่องของกระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติในพม่า พร้อมกับเรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐสภาของประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนร่วมมือกันเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศสมาชิกสมาคมอาเซียนหาทางพูดกับฝ่ายพม่าให้ตระหนักถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสมาคมอาเซียน หากฝ่ายเผด็จการทหารพม่ายังไม่ยอมดำเนินการอย่างจริงจัง เพื่อให้กระบวนการประชาธิปไตยและการปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นในพม่าอย่างแท้จริง ไม่ใช่อย่างที่เป็นมาในอดีตที่พม่าเพียงสร้างภาพลวงตาเพื่อลวงประชาคมโลกให้หลงผิดว่า ได้เกิดกระบวนการประชาธิปไตยขึ้นแล้วในพม่า


แต่หากพิจารณาจากพฤติกรรมของพม่าในอดีตที่ผ่านมา โอกาสที่พม่าจะยอมเห็นแก่ส่วนรวมนับว่าแทบไม่มีความเป็นไปได้เลย อีกทั้งโอกาสที่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ จะตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวร่วมกันที่จะดำเนินการเอาผิดทางวินัยกับพม่าเมื่อพิจารณาจากท่าทีของแต่ละประเทศสมาชิกที่ผ่านมาย่อมมีความเป็นไปได้ยากยิ่งเช่นกัน ซึ่งน่าจะมาสาเหตุสำคัญที่ประเทศสมาชิกอาเซียนไม่สามารถรวมตัวกันกดดันพม่าได้อย่างเป็นเอกภาพ โดยเฉพาะไทย จีน และอินเดีย ล้วนแต่คิดในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ตัวเองจะได้เป็นสำคัญขณะเดียวกันแรงกดดันจากประชาคมโลก ทั้งอียู สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น แรงกดดันก็ค่อนข้างกระจัดกระจาย


สุรพงษ์ ชัยนาม วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจว่าเหตุผลสำคัญที่ประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำมาอ้างเพื่อสนับสนุนให้พม่าเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนเมื่อกรกฎาคม พ.ศ.2540 คือ


1) ประเทศพม่าตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็สมควรรับเข้ามาเป็นสมาชิกอาเซียน

2) ในเมื่อประเทศที่จัดอยู่ในภูมิภาคอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ หากรับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิก ก็จะทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นจนครบถ้วนทั้ง 10 ประเทศ และจะมีผลทำให้สมาคมอาเซียนมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีอำนาจต่อรองและอิทธิพลในเวทีการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้น

3) การรับพม่าเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนมีผลสนับสนุนเหตุผลทางยุทธศาสตร์ของอาเซียนที่มีความวิตกกังวลต่อการแผ่อิทธิพลในด้านต่างๆ ของจีนที่นับวันได้เพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียน ฉะนั้นการรับพม่าเข้ามาในสมาคมอาเซียนถือได้ว่าเป็นการช่วยลดภาวะพึ่งพาที่พม่ามีต่อจีน และลดอิทธิพลของจีนในพม่า

4) อาเซียนมีความจำเป็นที่ต้องรีบรับพม่าเข้าเป็นสมาชิก เนื่องจากกลุ่มประเทศมหาอำนาจฝ่ายตะวันตก (อาทิ สหรัฐ อังกฤษ ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหลายประเทศ) พยายามเข้ามาตักเตือน เรียกร้องให้อาเซียนชะลอการรับพม่าเข้าเป็นสมาชิก ฉะนั้นอาเซียนจึงจำเป็นที่จะต้องแสดงท่าทีออกมาอย่างเปิดเผยและชัดเจน เพื่อส่งสัญญาณให้ประชาคมระหว่างประเทศเห็นว่าประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเป็นปึกแผ่น เป็นอิสระ และมีอธิปไตยของตนเอง โดยจะไม่ก้มหัวหรือสยบให้กับแรงกดดัน บีบบังคับจากประเทศใดทั้งสิ้น ในประเด็นของเหตุผลข้อนี้ประเทศอาเซียนที่ทำหน้าที่เป็นหัวหอกนำหน้าหนุนพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างแข็งขันและอย่างออกหน้าออกตา คือมาเลเซีย ยุคอดีตนายกรัฐมนตรี มหาเธียร์ และอินโดนีเซียยุคอดีตประธานาธิบดี ซูฮาร์โต

5) การรับพม่าเข้ามาเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรที่มีชื่อเสียง ภาพพจน์ ภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือที่ดี และเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาคมระหว่างประเทศ จะมีผลทำให้พม่าต้องปรับตัว ปรับท่าทีและนโยบายของพม่าให้สอดคล้องกับท่าที นโยบาย หลักปฏิบัติ และประเพณีค่านิยมของสมาคมอาเซียน


พรพิมล ตรีโชติ วิเคราะห์ว่าอาเซียนสนใจพม่าในมิติเดียว คือ มิติทางเศรษฐกิจ เพราะประเทศพม่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรมากที่สุด แต่ในเรื่องของการเมืองนั้นอาเซียนแทบไม่เคยสนใจ เพิ่งจะมาสนใจอย่างจริงจังตอนที่มีการเรียกร้องจากประชาคมโลกหลังเกิดเหตุการณ์เมื่อวันที่ 30 พ.ค.46 ที่มีการนำตัวนางอองซาน ซูจี ไปกักบริเวณที่บ้านพักอีกครั้งเท่านั้น ฉะนั้นสิ่งที่จะสามารถทำให้พม่าฟังอาเซียน ก็คือ บทบาทของจีนที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นในพม่าจนพม่าไม่สามารถควบคุมจีนได้อีกต่อไปเท่านั้น เพราะในขณะนี้พม่าก็ไม่ได้ไว้ใจจีนเท่าใดนัก เนื่องจากพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้อิทธิพลจีน อีกทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลทหารพม่าเองก็ยังเข้าไปไม่ได้ เพราะพื้นที่ที่จีนเข้าไปครอบครองเป็นประตูสู่เซาท์อีสต์เอเชียของพม่า ซึ่งอิทธิพลจีนตรงนี้จะทำให้พม่าต้องฟังอาเซียนและมองว่าอาเซียนเป็นทางออกในการเจรจากับจีน นอกจากนั้นวันนี้เองพม่าก็มีผู้ช่วยเหลือคนใหม่ที่มีความสำคัญกับกว่าอาเซียน คือ อินเดีย ซึ่งอินเดียได้เข้าไปลงทุนในประเทศพม่าจำนวนมาก ดั้งนั้นพม่าจึงอยู่ระหว่างอินเดียกับจีน และห่างจากอาเซียนไปเรื่อยๆ พม่าจะเห็นความสำคัญของอาเซียนก็ต่อเมื่อตระหนักว่าจีนและอินเดียกำลังคุกคามตนอยู่ เมื่อนั้นอาเซียนจึงจะกลายเป็นคำตอบของพม่า


สำหรับในแง่ของความสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจ (การลงทุน การค้า) ของประเทศสมาชิกอาเซียนสำคัญ ๆ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย นั้น พบว่าสำหรับประเทศมาเลเซียนั้น บริษัทปิโตรเลียมเบอร์ฮาร์ดหรือที่รู้จักกันดีในนามเปโตรนาส (PETRONAS) กิจการพลังงานยักษ์ใหญ่ของมาเลเซีย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเพื่อร่วมมือกับพม่าในโครงการหลายโครงการในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ส่วนสิงคโปร์ก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารพม่า โดยผู้นำระดับสูงหลายรายของพม่าได้เข้ารับการรักษาทางการแพทย์ในสิงคโปร์ เช่น พล.อ.ตัน ฉ่วย ผู้นำรัฐบาลทหารพม่า ได้เดินทางเยือนสิงคโปร์เมื่อเดือนมกราคม 2550 เพื่อเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งในลำไส้ และในปีที่แล้ว(2549) สิงคโปร์มีมูลค่าการค้ากับพม่าสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ สำหรับไทยนั้นจากสถิติการให้การส่งเสริมการลงทุนของ BOI ตั้งแต่ปี 2531 จนถึงปี 2549 มีการลงทุนไทยในพม่าทั้งสิ้น 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนสะสมทั้งสิ้น 1,345.623 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


กิจการที่ไทยไปเข้าลงทุน ได้แก่ ประมง ไม้ อัญมณี และเครื่องประดับ อาหารและเครื่องดื่ม การค้า ขนส่ง โรงแรมและการท่องเที่ยว การแปรรูปการเกษตรและพลังงาน นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ทำสัญญาจัดซื้อ – จัดจ้างกับหน่วยงานรัฐของพม่า ตามเงื่อนไขของเงินกู้ 4,000 ล้านบาท ซึ่งเงินกู้ดังกล่าวจะนำไปใช้สำหรับโครงการต่างๆโดยมีเงื่อนไขว่าต้องซื้อสินค้าและอุปกรณ์ต่างๆจากบริษัทสัญชาติไทยที่กำหนดไว้เท่านั้น นอกจากนั้นกลุ่มบริษัทเอ็มดีเอ็กซ์กรุ๊ปของไทยยังได้ลงนามในสัญญามูลค่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 228 ล้านบาท) ในโครงการก่อสร้างเขื่อนในรัฐฉานของพม่า ฉะนั้นในประเทศอาเซียนสิงค์โปร์เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ ตามด้วยประเทศไทยลำดับต่อมา


ข้อเสนอสำหรับบทบาทของอาเซียนต่อการแก้ไขปัญหาการเมืองพม่านั้น ในปัจจุบันอาจฝากความหวังไว้กับการที่อาเซียนได้มีการร่างกฎบัตรอาเซียนขึ้นมาในระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศที่ฟิลิปปินส์ปลายเดือนกรกฎาคม 2550 กฎบัตรอาเซียนนับเป็นหลักหมายสำคัญของกลุ่ม เพราะมันจะทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีกฎเกณฑ์ชัดเจน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดมาตรการการปฏิบัติสำหรับชาติสมาชิกอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อเพิ่มความกดดันสมาชิกที่มีปัญหา เช่น พม่าให้ปรับปรุงแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ นายออง เค็ง ยอง เลขาธิการสมาคมอาเซียน กล่าวว่าบทบาทของอาเซียนจะช่วยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับพม่า เนื่องจากกฎบัตรนี้จะย้ำถึงความรับผิดชอบและพันธกรณีของประเทศสมาชิก แต่กฎบัตรไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของมาตรการลงโทษสมาชิกที่ละเมิดกฎ ถึงแม้ว่าสมาชิกบางประเทศได้เสนอให้ใช้มาตรการขับออกจากการเป็นภาคีสมาชิกในกรณีที่มีการละเมิดกฎอย่างร้ายแรง


นอกจากนั้นแนวโน้มที่น่าสนใจ คือ หลังจากการที่พม่ายอมถอนตัวออกจากการเป็นประธานอาเซียน และจากการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอาเซียนในช่วงที่ผ่านมา ทำให้พม่าจะใช้ข้ออ้างเรื่องการดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญขั้นที่ 1 ที่พึ่งจะเสร็จสิ้นลงเมื่อกลางเดือนกันยายนว่าตนเองพร้อมที่จะเป็นประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพจัดประชุมได้แล้ว ซึ่งภาวะในข้างหน้านั้นอาเซียนจะลำบากมาก ถ้าแรงกดดันของประเทศต่างๆในอาเซียนยังคงอยู่ พม่าก็อาจจะไม่กล้าดำเนินการใดๆ แต่ถ้าแรงกดดันเบาบางลง พม่าก็อาจจะสิทธิ ดังนั้นนักการเมืองในประเทศต่างๆ จะต้องร่วมมือกันกดดันเรียกร้องประเทศพม่าต่อไป