วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทยกับการสร้างมาตรการทางการค้าและการสร้างสันติสุขในประเทศพม่า



จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลไทยกับการสร้างมาตรการทางการค้าและการสร้างสันติสุขในประเทศพม่า

15 ตุลาคม 2550

เรียน พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี

ตัวแทนภาคประชาชนไทยผู้มีรายนามท้ายนี้มีความปรารถนาให้ประเทศพม่ามีพัฒนาการทางการเมืองไปในทางที่ดีและสันติ ต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยสามารถเอา ชนะความยาก ลำบากและการทนทุกข์ทรมานจากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในหลายๆด้านในประเทศพม่า และสนับสนุนกระบวนการที่จะนำมาสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

หลังจากที่ ท่านทูต อิบราฮิม กัมบารี ได้เข้าไปเยือนประเทศพม่าและมีรายงานเสนอเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2550 ให้รัฐบาลพม่าและ SPDC ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมที่ร่วมการเดินขบวนประท้วงทั้งหมด ยุติการค้นบ้านค้นวัดและจับกุมประชาชนพม่าในยามวิกาลภายใต้ประกาศเคอร์ฟิว และยกเลิกคำประกาศเคอร์ฟิวโดยเร็ว โดยควรถอนกำลังทหารที่ประจำการตามท้องถนนออกไป และยอมให้กาชาดสากลเข้าพบผู้ถูกจับกุม และช่วยค้นหาผู้สูญหายจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา อีกทั้งอนุญาตให้ผู้ประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ยังสถานพยาบาลต่างๆ

แต่องค์กรต่างๆในประเทศไทยได้รับแจ้งจากประชาสังคมในประเทศพม่าว่า ทหารพม่าและรัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอข้างต้นของท่านทูตกัมบารี ทหารยังปราบปรามประชาชนและพระสงฆ์ที่เข้าร่วมการประท้วงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้มีมาตรการลดความตึงเครียกแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ถูกคุมขัง คนที่สูญหายและครอบครัวของพวกเขา

คนไทยรู้สึกห่วงใยต่อสถานการณ์พม่าเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่ทราบว่ารัฐบาลพม่าจะเพิ่มมาตรการปราบปรามมากขึ้นหรือไม่ เพราะทั่วโลกทราบดีว่าทั้งรัฐบาลจีน อืนเดีย และไทย
ยังไม่มีมาตรการยุติการทำตัวเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับทหารพม่าและยังยืนยันการค้าขายกับพม่าต่อไปแต่ไม่ได้คำนึงว่าเงินที่ทำการค้านั้นได้ถูกใช้ไปกับซื้ออาวุธปราบปรามประชาชนและคนกลุ่มน้อยมาเป็นเวลานาน

ประชาสังคมไทยจึงขอเสนอให้รัฐบาลไทยพิจารณาดำเนินการเพื่อจะมุ่งหาหนทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพม่าอย่างจริงจังดังนี้

1. ไทยต้องมีแนวทางยุติการลงทุน และระงับโครงการขนาดใหญ่ที่จะเข้าไปลงทุนในพม่า โดยจะต้องมีมาตราการและนโยบายในเชิงรูปธรรมต่อการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อจะมิให้เกิดการนำรายได้ดังกล่าวเข้าไปใช้เข่นฆ่าทำร้ายพระสงฆ์และประชาชนพม่า
2. ไทยจะต้องให้ความช่วยเหลือคุ้มครองผู้ลี้ภัยจากการปราบปรามพระสงฆ์และประชาชนจากพม่า รวมถึงแรงงานข้ามชาติที่เป็นผลกระทบอย่างต่อเนื่องของการใช้ความรุนแรงทั้งทางกายภาพและนโยบายของรัฐบาลทหารพม่า โดยต้องมองถึงความจำเป็นที่พวกเขาเหล่านั้นต้องหลบหนีจากประเทศของตนซึ่งมีอันตรายเข้ามา รัฐไทยมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครอง มิใช่มองพวกเขาเป็นปัญหาดังที่ผ่านมา
3. ไทยจะต้องร่วมมือกับประชาคมโลกอย่างจริงจังในการกดดันให้รัฐบาลทหารพม่ายุติการปราบปราม จับกุมและทำร้ายพระสงฆ์และประชาชนโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น
4. ไทยจะต้องร่วมมือ และแสดงบทบาทต่ออาเซียนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพม่าทั้งระยะสั้น คือการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้น และให้มีการปล่อยนักโทษทางการเมืองทั้งหมด รวมทั้งระยะยาวที่จะต้องมีการเอื้อให้เกิดกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และมุ่งสร้างแนวทางการพัฒนาทางการเมืองที่เน้นประโยชน์อยู่ที่ประชาชนพม่า

ประชาสังคมไทยขอยืนยันว่าข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้วางอยู่บนพื้นฐานของความต้องการเห็นภูมิภาคนี้สงบสันติ ต้องการเห็นประชาชนในภูมิภาคนี้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และท้ายที่สุดวางอยู่บนพื้นฐานที่ต้องการให้การพัฒนาของประเทศไทยและพม่าในอนาคตข้างหน้าตั้งอยู่บนความมั่นคงยั่งยืนและมีจริยธรรม


ด้วยความนับถือ

11 องค์กรสิทธิมนุษยชนไทย
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี(อันเฟรล)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.)
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มสันติภาพเพื่อพม่า
คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ
คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี
องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

จดหมายเปิดผนึก ถึง นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติ

จดหมายเปิดผนึก
ถึง นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติ

15 ตุลาคม 2550
เรื่อง ข้อเสนอแนะต่อการเยือนประเทศพม่า

เรียน ท่านทูต อิบราฮิม กัมบารี
ตัวแทนองค์กรภาคประชาชนของประเทศไทยขอต้อนรับการมาเยือนประเทศไทยและขอแสดงความยินดีที่ท่านเดินทางไปประเทศพม่าอีกครั้งหนึ่ง ตัวแทนภาคประชาชนไทยที่ปรารถนาให้ประเทศพม่ามีพัฒนาการทางการเมืองไปในทางที่ดีและสันติ ต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถเอาชนะความยากลำบากและการทนทุกข์ทรมานจากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในหลายๆด้านในประเทศพม่า และสนับสนุนกระบวนการที่จะนำมาสู่ประชาธิปไตยอย่างจริงจัง เราถือโอกาสนี้แสดงความเห็นต่อสถานการณ์พม่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวกับความคิดเห็นที่ท่านได้เสนอในนามของเลขาธิการสหประชาชาติที่มีต่อ
รัฐบาลพม่าและ SPDC เมื่อครั้งที่ท่านได้เข้าไปเยือนประเทศพม่าที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่มาของรายงานที่ท่านได้นำเสนอเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2550 ปัญหาและความตึงเครียดที่ท่านต้องการการแก้ปัญหาทันทีได้รวมถึง

การให้หยุดค้นบ้านและจับกุมประชาชนพม่าในยามวิกาลภายใต้ประกาศเคอฟิว
ให้มีการยกเลิกคำประกาศการออกนอกบ้านในตอนกลางคืนหรือเคอฟิวให้เร็วที่สุด
ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมที่ร่วมการเดินขบวนประท้วงทั้งหมดโดบปราศจากเงื่อนไข
อนุญาตให้ผู้ประท้วงที่ได้รับบาดเจ็บสามารถเข้ารับการรักษาตัวได้ยังสถานพยาบาลต่างๆ
ถอนกำลังทหารที่ประจำการตามท้องถนนออกไป
ให้ความมั่นใจว่าทหารพม่าจะเคารพสิทธิมนุษยชนและหลักกฏหมายตามมาตรฐานสากล
ยอมให้กาชาดสากลเข้าพบผู้ถูกจับกุม และช่วยค้นหาผู้สูญหายจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา
และต้องยุติการค้นวัด กุฏิพระสงฆ์ต่างๆในทันที

แต่ปรากฏว่าองค์กรต่างๆในประเทศไทยได้รับแจ้งจากประชาสังคมในประเทศพม่าว่า ทหารพม่าและรัฐบาลไม่ได้ปฏิบัติตามข้อเสนอข้างต้นของท่านเลย ทหารยังปราบปรามประชาชนและพระสงฆ์ที่เข้าร่วมการประท้วงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้มีมาตรการลดความตึงเครียกแต่อย่างใด อีกทั้งไม่ได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ถูกคุมขัง คนที่สูญหายและครอบครัวของพวกเขา

คนไทยรู้สึกห่วงใยกับสถานการณ์พม่าเป็นอย่างยิ่ง เราอยากให้เพิ่มความพยายามในทุกด้านมากกว่านี้ เพื่อให้รัฐบาลทหารพม่าหยุดการค้นสถานที่ต่างๆ ยุติการจับกุม การทรมาน และการปราบปรามรูปแบบต่างๆโดยทันที่ เราทราบดีว่าท่านรับรู้ความรู้สึกของผู้ประสบชะตากรรมที่เป็นผลพวงของการกระทำของรัฐบาลเผด็จการทหารเป็นอย่างดี และขอให้การเดินทางไปพม่าในครั้งนี้ประสบความสำเร็จ

ด้วยความนับถือ

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.), เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี(อันเฟรล)
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า(กรพ.), ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มสันติภาพเพื่อพม่า, คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ, คณะทำงานปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย, มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย

Open letter to Ibrahim Gambari

Ambassador Ibrahim Gambari
Special Adviser to the Secretary General

15 October 2007
Dear Ambassador Gambari

Re: Your forthcoming visit to Burma

We extend our best regards to you and welcome the visit you are about to make to Burma. We are a group of Thai and Burmese civil society organizations working to relieve the situation of those suffering under the current conditions inside Burma and to promote democratic processes.

We take this opportunity to comment on the current situation in Burma, particularly in relation to the recommendations you made on behalf of the United Nations Secretary General to the SPDC in your last visit, and that you outlined in your report to the UN Security Council on 5 September. Specifically we refer to the recommendations regarding the need to immediately de-escalate tensions, including:
putting an end to night raids and arrests during curfew
lifting the curfew as soon as possible
releasing all those arrested during the demonstrations and before the crackdown immediately without condition
allowing access to clinics/ medical treatment for those wounded during demonstrations;
withdrawing military forces from the street
ensuring respect for human rights and the rule of law in the exercise of law enforcement, in accordance with international standards
allowing the ICRC to access persons detained and assist in tracing missing people
and putting an immediate end to raids on monasteries.

We have maintained contact with sources inside Burma who inform us that the SPDC has not complied with these recommendations. The military continues its repression of those involved in the recent protests, and has not taken steps to reduce the tensions and allow relief efforts to take place to assist the injured, detained and missing and their families.

We are deeply concerned about the situation and, therefore, asking you to make all possible efforts to impress upon SPDC the urgency of stopping the raids, arrests, torture, execution and other forms of repression immediately. We know that you are keenly aware of the suffering being experienced as a result of the brutal actions of the military regime.

We wish you every success on your mission.

Yours sincerely
Campaign Committee for Human Rights (CCHR)
Thai Action Committee for Democracy in Burma (TACDB)
Young People for Democracy Movement, Thailand (YPD)
Peace for Burma Group, Working Group for Justice and Peace (WGJP)
Asian Institute for Human Rights (AIHR), Asia Network for Free Election (ANFREL)
Amnesty International Thailand, Human Rights and Development Foundation
Thai Coalition for the Protection of Human Rights Defenders (HRDTH)